กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการขยะ เพื่อสุขภาวะที่ดีของชาวตำบลหน้าถ้ำ
รหัสโครงการ 66-L4144-02-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด อบต.หน้าถ้ำ
วันที่อนุมัติ 15 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 พฤศจิกายน 2565 - 24 พฤศจิกายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 25 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 48,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ่งฤดี ตั้งอนุตรกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.525,101.225place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่อง  มาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมือง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคนในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าว รวมถึงมีการกำหนดรูปแบบหรือวิธีการจัดการไว้แล้ว แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสร้างมูลค่าหรือสร้างรายได้ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้
  จังหวัดยะลาได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน“ยะลาสะอาด”ประจำปีพ.ศ. 2565 ภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 – 2570) โดยดำเนินการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยใช้หลักการ 3 ช. ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับครัวเรือน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะที่มาจากเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะเปียกของครัวเรือนในระดับท้องถิ่นและเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ “ขยะเปียกลดโลกร้อน”องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าถ้ำ จึงได้ทำโครงการบริหารจัดการขยะ เพื่อสุขภาวะที่ดีของชาวตำบลหน้าถ้ำ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 2. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชน กลุ่มอาสาสมัครและผู้นำชุมชนในการคัดแยกขยะครัวเรือนที่ต้นทาง 3. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ “ขยะเปียกลดโลกร้อน” และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่ 4. เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชนในพื้นที่หรือเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน 5. เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ย. 65
1 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs.(23 พ.ย. 2565-24 พ.ย. 2565) 16,850.00  
2 การสอน/สาธิตการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน(23 พ.ย. 2565-23 พ.ย. 2565) 31,500.00  
รวม 48,350.00
1 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 350 16,850.00 0 0.00
23 - 24 พ.ย. 65 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs. การสอนการคัดแยกขยะแต่ละชนิด การรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤตืกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือน 350 16,850.00 -
2 การสอน/สาธิตการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 350 31,500.00 0 0.00
23 - 24 พ.ย. 65 การสอน/สาธิตการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน 350 31,500.00 -
  1. อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs.
  2. การสอนการคัดแยกประเภทขยะแต่ละชนิด
  3. กิจกรรมการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือน
  4. การสอน/สาธิตการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อขับเคลื่อนการลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
  2. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
  3. ปริมาณขยะอินทรีย์ที่เข้าสู่แหล่งกำจัดมีปริมาณลดลง
  4. ประชาชนที่ดำเนินการสามารถใช้พื้นที่ที่จัดทำถังขยะเปียกปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้
  5. ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ผู้นำชุมชน อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกในครัวเรือนตนเอง
  6. เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกของหมู่บ้าน/ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงได้
  7. ประชาชนในตำบลหน้าถ้ำ มีสุขภาวะที่ดี ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาขยะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2565 10:36 น.