กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านกาลูบีปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5307-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มรักษ์และห่วงใยสุขภาพบ้านกาลูบี
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฝาตีม๊ะ มะอะนี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานานมีความหลากหลายเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละชุมชน สังคม การใช้ยาสมุนไพรนั้นตอบสนองความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดีด้วยวิถีธรรมชาติบำบัด สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง คนไทยนำสมุนไพรมาปรุงเป็นอาหารรับประทานกับข้าว ใช้สมุนไพรปรุงเป็นยารับประทานรักษาอาการเจ็บป่วย ทำผลิตภัณฑ์เป็นครีมบำรุงผิว เป็นน้ำมันเอ็น เป็นยานวดคลายกล้ามเนื้อ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการนำสมุนไพรมาผลิตเป็นยาที่ใช้ภายนอก และภายในแบบง่ายๆ ด้วยวิธีการผลิตที่ชาวบ้านประชาชนสามารถทำได้ และไว้ใช้เองได้ เช่น การผลิตน้ำมันหม่องสำหรับถูนวดการผลิตลูกประคบสมุนไพรแก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อและการทำยาดมสมุนไพรสูดดมแก้วิงเวียนศรีษะ การแพทย์ทางเลือกกิจกรรมการแพทย์แผนไทยได้แก่ การนวด อบ ประคบสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพรมาเป้นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ การปลูกสมุนไพรเพื่อนำมาใช้เองซึ่งประโยชน์ของการนวดสามารถบำบัดอาการปวดเมื่อย ผ่อนคลายความเครียด ปวดกลังปวดเอวลดการใช้ยาเองได้ การอบสมุนไพรช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนให้ดีขึ้น บำบัดโรคภูมิแพ้ ลดการอักเสบฟกซ้ำของกล้ามเนื้อข้อ และการแปรรูบเป็นโลชั่นกันยุงจากตระไคร้หอม แชมพูจากอัญชัญ ยาหม่องสมุนไพร ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการแพทย์แผนไทยอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านนำสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างปลอดภัยทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสถาพของประชาชน จากเหตุผลดังกล่าวทาง กลุ่มรักษ์และห่วงใยสุขภาพบ้านกาลูบี ได้เล็งเห็นความสำคัญและตอบสนองความต้องการของชุมชนโดยจัดทำโครงการสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านควนปี 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ แกนนำสุขภาพ ผู้สูงอายุมีการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรค ฟื้นฟูสภาพ

ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพ และผู้สูงอายุ มีการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรค ฟื้นฟูสภาพ

60.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพ ผู้สูงอายุ ฟื้นฟูภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยคงอยู่สืบไป

ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพ และผู้สูงอายุ ได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 1 20,000.00
2 ม.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 จัดอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำลูกประคบ ทำยาดมสมุนไพร 0 20,000.00 20,000.00
1 มี.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 ส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพ ผู้สูงอายุมีการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรค ฟื้นฟูสภาพ 2.ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เช่นใช้ลูกประคบในผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน
3.ส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพ ผู้สูงอายุ ฟื้นฟูภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยให้คงอยู่สืบไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2565 00:00 น.