กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดภัย ห่างไกลสารเคมี
รหัสโครงการ 66-L5180-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหมอไทร
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาริสา พันธุสระ
พี่เลี้ยงโครงการ นายธนพนธ์ จรสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเกษตรกรไม่ได้รับการตรวจสารกำจัดศัตรูพืช

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเนื่องจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นปัญหาใหญ่และรุนแรงมาก โดยเฉพาะผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชน สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปัญหาสุขภาพและความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สำหรับปัญหาด้านสุขภาพสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน คือผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น และผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัญหาพิษภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมิได้ส่งผลต่อเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้บริโภคด้วย ดังนั้นการแก้ปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชควรให้ความสำคัญและต้องร่วมกันขับเคลื่อนให้มีการออกนโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่จะทำให้ระบบเกษตรกรและอาหารของประเทศคำนึงถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สามารถเข้าถึงได้อย่างเพียงพอและปลอดภัย เพราะสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือจะไปทำลายอวัยวะภายในของร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
พื้นที่ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นอีกหนึ่งตำบลที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยคิดเป็นร้อยละ 46 มีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวน เช่น สวนยาง สวนปาล์ม สวนผลไม้ พื้นที่ทำไร่ทำนา และปลูกพืชผักตลอดทั้งปี ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่ จากข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พบว่าเกษตรกรในตำบลท่าหมอไทรยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ในการใช้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหมอไทร จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในตำบลท่าหมอไทร จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดภัย ห่างไกลสารเคมีขึ้น เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งยังได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีให้ถูกต้องและเหมาะสม

100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารกำจัดศัตรูพืชในร่างกาย

1.เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาสารกำจัดศัตรูพืชร้อยละ80

60.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการใช้สารจำกัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

1.เกษตรกรมีความรู้และสามารถป้องกันตนเองไม่ให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้มากกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง

1.เกษตรกรมีปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงมากกว่าร้อยละ 70

80.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 พ.ย. 65 - 31 ธ.ค. 65 1.ประชุมแผนงาน 0 450.00 -
1 - 31 ม.ค. 66 2.ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -
1 - 28 ก.พ. 66 3.เตรียมสื่ออุปกรณ์และวัสดุในการจัดกิจกรรม 0 5,500.00 -
1 - 31 มี.ค. 66 4.จัดกิจกรรมการตรวจหาสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 1 0 7,400.00 -
1 - 30 เม.ย. 66 5.จัดกิจกรรมการตรวจหาสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 2 0 1,200.00 -
1 - 31 พ.ค. 66 6. สรุปและประเมินโครงการ 0 450.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ตำบลท่าหมอไทร มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง สามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการประกอบอาชีพได้อย่างปลอดภัย
  2. กลุ่มเกษตรกรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและเป็นต้นแบบที่ดีในการดูแลสุขภาพของกลุ่มที่ประกอบอาชีพเกษตรกร
  3. กลุ่มเกษตรกรมีความตระหนักถึงพิษภัยอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรและปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการทำเกษตรอินทรีย์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2565 00:00 น.