กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการบริโภคพืชผักของประชาชนในพื้นที่ตำบลสะกอมประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 2566-L5186-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2566
งบประมาณ 19,895.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยอดชาย สมจิตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 19,895.00
รวมงบประมาณ 19,895.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ
30.00
2 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่ตรวจพบสารเคมีอันตรายในเลือด
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในของร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกาย ได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ตำบลสะกอม เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกแตงโม ฟักทอง และปลูกพืชผักตลอดทั้งปี ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในตำบลสะกอม ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้จึงท้าให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในตำบลสะกอม จึงได้จัดทำโครงการสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลสะกอม ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีให้ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดแรงงานนอกระบบที่มีการตกค้างของสารเคมีในเลือด

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่ตรวจพบสารเคมีในเลือดลดลง

20.00 10.00
2 เพิ่มจำนวนประชาชนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ

จำนวนประชาชนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ (ร้อยละ)

30.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,895.00 0 0.00
3 - 28 เม.ย. 66 กิจกรรม 1 ประชุม เจ้าหน้าที่ รพ.สต.สะกอม และอสม. เพื่อกำหนดแผนงานการลงปฏิบัติงานในพื้นที่ 0 2,425.00 -
1 - 31 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 ประสานงานและประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัดวัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ โดยทีม อสม. 0 0.00 -
1 - 30 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายโดยการตรวจเลือดโดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส พร้อมแจ้งผลการตรวจเลือด (ครั้งที่ 1 ) และจัดกิจกรรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการใช้สมุนไพรรางจืดในการล้างพิษ 0 14,270.00 -
3 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 4 ตรวจคัดกรองเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายโดยการตรวจเลือดโดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส พร้อมแจ้งผลการตรวจเลือด (ครั้งที่ 2 ) 0 3,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักเห็นความสำคัญของการใช้สารชีวภาพแทนการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพ

2.ผู้เข้าร่วมมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีลดลง และสามารถนำปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์มาใช้แทนการใช้สารเคมี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2565 00:00 น.