กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการการส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (อายุ 35 ปีขึ้นไป) ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านลำช้าง ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (อายุ 35 ปีขึ้นไป) ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านลำช้าง ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาไพร
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมบูรณ์ น้ำแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากมีอุบัติการณ์อัตราป่วยและอัตราตายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลกมีผู้ป่วยจำนวน 463 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 629 ล้านคน สำหรับประเทศไทยโรคเบาหวานเป็น 1 ใน 5 โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมด หรือประมาณ 320,000 คนต่อปีและทุก 1 ชั่วโมงมีผู้เสียชีวิต 37 ราย และพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในระบบทะเบียน 3.2 ล้านคน ของกระทรวงสาธารณสุข สาเหตุของการเจ็บป่วยส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม ในขณะที่สาเหตุหลักมาจากวิถีการดำเนินชีวิตที่ขาดการดูแลสร้างเสริมสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาหารและการออกกำลังกาย สภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่เปลี่ยนไปในทางที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น (กรมควบคุมโรค, 2564) รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ในปี พ.ศ. 2564 จังหวัดตรัง พบว่า มีผู้ป่วย จำนวน 4,130 คน คิดเป็นอัตรา 644.73 ต่อแสนประชากร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่ผ่านมา (สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตรัง, 2564) จากการคัดกรองและศึกษาข้อมูลปัญหาสุขภาพชุมชน หมู่ที่ 1 บ้านลำช้าง ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ในปี พ.ศ. 2565 พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 6 คน คิดเป็นอัตรา 9.13 ต่อพันประชากร ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขที่ต้องลดลงจากปีงบประมาณที่ผ่านมา และพบกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 65 คน คิดเป็นอัตรา 98.93 ต่อพันประชากร (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร, 2565) ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายในการสร้างสุขภาพนำซ่อมในการแก้ปัญหา โดยเน้นการคัดกรองโรคที่เป็นปัญหาในชุมชนให้ได้รับการส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู และรักษา สำหรับพฤติกรรม สุขภาพที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียดที่ไม่เหมาะสม (กรมควบคุมโรค, 2555) ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิต สามารถป้องกันได้ การรักษาภายหลังการเกิดโรคอย่างเดียว ไม่สามารถลดภาระผู้ป่วย ครอบครัว และสังคมในระยะยาวได้ ดังนั้นการป้องกันการเกิดโรคจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป
จากการร่วมกันจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้านของประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน พบว่า ปัญหาจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น เป็นปัญหาที่ชุมชนต้องการแก้ไขมากที่สุด เนื่องจากเมื่อป่วยด้วยโรคเบาหวานแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก่อให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก ส่งผลต่อเศรษฐกิจของผู้ป่วยและครอบครัว อีกทั้งโรคเบาหวานยังเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ในกลุ่มโรค NCDs อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคไต เป็นต้น
จากประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจัดทำโครงการการส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (อายุ 35 ปีขึ้นไป) ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านลำช้าง ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ดำเนินกิจกรรมกับประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน หมู่ที่ 1 บ้านลำช้าง เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน นำผลที่ได้ไปปรับใช้และพัฒนาในบริการหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในพื้นที่เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานสามารถปรับพฤติกรรมด้านสุขภาพ นำความรู้ ไปใช้เพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน และเป็นแนวทางในการนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในครอบครัวและชุมชนเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (อายุ 35 ปีขึ้นไป) หมู่ที่ 1 บ้านลำช้างตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การควบคุม และการป้องกันโรคเบาหวาน

 

2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (อายุ 35 ปีขึ้นไป) หมู่ที่ 1 บ้านลำช้าง ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานที่ดีขึ้น

 

3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (อายุ 35 ปีขึ้นไป) หมู่ที่ 1 บ้านลำช้าง ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลของชุมชน หมู่ที่ 1 บ้านลำช้าง ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง เพื่อสำรวจข้อมูลสถาพปัญหาสาธารณสุขของชุมชนก่อนดำเนินโครงการ
    1. ประชุมวางแผนกำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ งบประมาณ และแนวทางการประเมินผล
    2. แต่งตั้งคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบ มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    3. เขียนโครงการฉบับสมบูรณ์และเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
    4. ประสานงานในการจัดทำโครงการ จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์
    5. ประชาสัมพันธ์โครงการ
    6. ประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ แกนนำ อสม.และ ผู้นำชุมชน
    • ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการ
    • แจกสมุดบันทึกการดูแลสุขภาพ
    • ทดสอบความรู้และประเมินพฤติกรรมก่อนดำเนินโครงการ
    1. จัดกิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน     - บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน
    2. จัดกิจกรรมที่ 2 “ออกกำลังกาย ห่างไกลเบาหวาน”
    3. จัดกิจกรรมที่ 3 “กินอย่างไร ปลอดภัยต่อโรคเบาหวาน”
        - บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร และการอ่าน ฉลากโภชนาการ     - การประกวดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
    4. จัดกิจกรรมที่ 4 “ฉันจะพยายามจนกว่าจะสำเร็จ”   - การเยี่ยมเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการปฏิบัติพฤติกรรม
    5. จัดกิจกรรมที่ 5 “ประกวดต้นแบบในการดูแลสุขภาพ”
    6. ทดสอบความรู้และประเมินพฤติกรรมหลัง ดำเนินโครงการ
    7. อาสาสมัครประจำหมู่บ้านและนักศึกษาประเมินความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน
    8. ตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด หลังเข้าร่วมกิจกรรมประกวดต้นแบบในการดูแลสุขภาพ
    9. ประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน และเสนอแนวทางในการนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (อายุ 35 ปีขึ้นไป) หมู่ที่ 1 บ้านลำช้าง ตำบล เขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ นำความรู้ไปใช้เพื่อลด ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ลดการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน
    1. ประชาชน หมู่ที่ 1 บ้านลำช้าง ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง สามารถนำรูปแบบกิจกรรมเป็นแนวทางในการนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในครอบครัว และชุมชนเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2565 14:01 น.