กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก อำเภอท่าแพ
รหัสโครงการ 66-L5287-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 ธันวาคม 2565 - 15 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 35,232.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปริญญา หมันนาเกลือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาสุขภาพประชากรซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีความสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ต่อเนื่องถึงการให้การดูแลในช่วงปฐมวัย เพื่อให้เด็กการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างองค์รวม ทั้งสุขภาพทางการ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การที่แม่และทารกปลอดภัยจากการตั้งครรภ์และการคลอดนั้นขึ้นกับการบริการสุขภาพและคุณภาพบริการที่ได้รับ หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพ และเสริมทักษะการดูแล เลี้ยงดูเด็กที่ดีจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขตลอดจนการส่งเสริมโภชนาการและทัตสุขภาพทีเหมาะสมจะทำให้มารดาและทารกที่คลอดมามีสุขภาพดี หลังคลอดทารกควรได้รับการเลี้ยงจากนมมารดาอย่างต่อเนื่องและได้รับการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมรวมทั้งการประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ตลอดจนการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมและการได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมจากพ่อแม่
  ในปี 2563,2564,2565 ตำบลท่าแพ มีหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 94.95 ,90.91 ,100 ซึ่งผ่านเกณฑ์ตั้งครรภ์ 5 ครั้ง ร้อยละ 84.21 ,87.88 ,96.67 ซึ่งที่ผ่านมาเกณฑ์ตัวชี้วัด ทารกคลอดนำ้หนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ในปี 2563 , 2564 ได้ร้อยละ 10.89 และ 9.09 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด ส่วนในปี 2565 ได้ร้อยละ 6.75 ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด ในปี 2565 พบหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลท่าแพ มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์๋ จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.59 และต้องเฝ้าระวังเบาหวานที่ส่งไปฝากครรภ์ที่ โรงพยาบาลสตูล 5 ราย โรคความดันขณะตั้งครรภ์ จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.21 ส่งไปฝากครรภ์ โรงพยาบาลสตูล 2 ราย มีประวัติการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน 4 รายคิดเป็นร้อยละ 4.25 มีภาวะเสี่ยงทารกในครรภ์น้อยกว่าเกณฑ์ 5 รายคิดเป็นร้อยละ 5.31 และมีทารกเสียชีวิตในครรภ์ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.12 ดังนั้นจึงเห็นควรมีการค้นหาหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงเชิงรุกในชุมชนและมีการจัดระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงร่วมด้วย
  จะเห็นได้ว่าการดูแลกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์ยังข้อกำจัดหลายด้าน เช่น ความไม่ครอบคลุมการติดตามรายบุคคล การเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่าย อสม. การแก้ไขควรเพิ่มศักยภาพหญิงตั้งครรภ์ในการดูแลตนเองที่ถูกต้องมากขึ้น
  ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขรวมทั้งแกนนำ/อาสาสมัครนมแม่ รวมถึงผู้ดูแลจึงต้องมีความรู้ถึงการดูแลหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดสามารถและให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด รวมถึงทารกในครรภ์ ทารกหลังคลอดได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงที่ถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงที่ถูกต้อง ร้อยละ 85

85.00
2 2. เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเป็นอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80

80.00
3 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้ถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้ ร้อยละ 85

85.00
4 4. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำมีความรู้

อาสาสมัครสาธารณสุขความรู้และแกนนำมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,232.00 0 0.00
20 ธ.ค. 65 กิจกรรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์,หญิงวัยเจริญพันธ์ อาสาสมัครสาธารณสุขความรู้และแกนนำ ผู้ดูแล หญิงตั้งครรภ์ 0 35,232.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ คู่สมรสใหม่ และหญิงวัยเจริญพันธ์ที่คาดว่าจะมีบุตรคนต่อไปมีความรู้ ทักษะ และตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ในชุมชนได้
  2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆ ในขณะตั้งครรภ์อย่างครอบคลุมเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงต่างๆในระยะเริ่มแรกและได้รับการแก้ไข/ส่งต่ออย่างทันท่วงที
  3. หญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้งในครรภ์ปกติและสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงจะได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางตลอดการตั้งครรภ์
  4. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้การเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. ตลอดจนแกนนำสุขภาพและผู้นำชุมชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2565 15:28 น.