กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง
รหัสโครงการ 66-50117-01-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ธันวาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเลิศรัตน์ เอกสถาพรสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ธ.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 35,000.00
รวมงบประมาณ 35,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
6.80

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำเป็นจะต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องดูแล รักษาอย่างต่อเนื่อง มีค่าใช้จ่ายที่สูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยของการเกิดโรคประกอบไปด้วยหลายๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง สภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประชาชนมีภาวะเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งโรคต่างๆเหล่านี้ สามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของ อบต.นาโยงเหนือ ปี ๒๕๖๕ มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๓๒๘ คน และโรคเบาหวานจำนวน ๒๒๕ คน เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคดังกล่าวในอนาคต ทางโรงพยาบาลนาโยงได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง โดยประสานความร่วมมือกับชุมชนในการร่วมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างแกนนำสุขภาพที่ดีเพื่อเป็นต้นแบบให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ๒. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓. กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่

 

1.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

6.80 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 อบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(13 ก.พ. 2566-17 ก.พ. 2566) 28,500.00                  
2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้(1 ก.ค. 2566-1 ก.ค. 2566) 6,500.00                  
รวม 35,000.00
1 อบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 28,500.00 1 28,500.00
13 ก.พ. 66 กิจกรรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหมู่บ้านละ 1 วัน ตามโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชน 200 28,500.00 28,500.00
2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 6,500.00 1 6,500.00
1 ก.ค. 66 จัดเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานของแต่ละหมู่บ้าน 50 6,500.00 6,500.00

๑. คืนข้อมูลปัญหาด้านสุขภาพให้กับผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น อสม เพื่อจัดทำแผนการแก้ปัญหาโดยชุมชน ๒. ประชุม อสม.เพื่อประสานกลุ่มเสี่ยง และกำหนดรูปแบบการดำเนินงานแต่ละหมู่บ้าน ๓. ให้ความรู้แกนนำ เลือกรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกำหนดแผนการดำเนินงาน   ๔. ประสานวิทยากร
๕. ดำเนินกิจกรรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหมู่บ้านละ๑วัน ตามโปรแกรมการป้องกัน
  โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชนซึ่งเป็นชุดของกิจกรรมที่ออกแบบให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้า
  ใจความเสี่ยงของตนเองและการดำเนินของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เรียนรู้วิธีการปรับเปลี่ยน   พฤติกรรม ๓อ.๒ส. เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถนำความรู้
  ดังกล่าวไปปฏิบัติด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ๖. ส่งเสริมการรับประทานและปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ ปลอดสารพิษ ๗. ส่งเสริมการออกกำลังกายต่อเนื่องในชุมชน โดยมีแกนนำ ๘. จัดเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานของแต่ละหมู่บ้าน ๙. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล ทุก ๖ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง     ๒.กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น     ๓.กลุ่มเสี่ยงไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2565 11:35 น.