กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์คุณภาพเพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี
รหัสโครงการ 66-50117-01-005
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเลิศรัตน์ เอกสถาพรสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์มีความสำคัญเพราะเป็นการค้นหาภาวะเสี่ยงด้านมารดาที่ส่งผลต่อทารกในครรภ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การฝากครรภ์อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดแก่ทารกในครรภ์ ทำให้มารดาและทารกมีสุขภาพแข็งแรง จึงควรมาฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์และมาตามนัดทุกครั้ง ข้อมูลจากระบบการจัดเก็บพบว่าอัตราการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์และได้รับการดูแลครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ในปี ๒๕๖๔ อัตราร้อยละ ๖๔.๕๒ ปี ๒๕๖๕ อัตราร้อยละ ๗๐ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่อัตราร้อยละ ๗๕ และปัญหาภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายทั้งต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ทำให้ตกเลือดหลังคลอด ทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนดได้ จากข้อมูลในแผนกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลนาโยงพบว่าอัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ปี พ.ศ.๒๕๖๔ มีอัตราร้อยละ ๒๒.๐๗ ปี พ.ศ.๒๕๖๕ อัตราร้อยละ ๑๘.๐๖ ซึ่งเกินเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ตั้งไว้คือไม่เกิน ร้อยละ ๑๖ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจาง รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ โดยการให้ความรู้แก่แกนนำในชุมชนเพื่อค้นหาและให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์ รวมทั้งให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติในการป้องกันภาวะโลหิตจาง รวมทั้งการรักษาโดยการให้ยาเสริมธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ต่ำกว่า ๑๒ สัปดาห์และได้รับการดูแลครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ๒. เพื่อให้แกนนำในชุมชนมีความรู้ในการให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์เพื่อให้มาฝากครรภ์ทันทีที่ตั้งครรภ์ ๓. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการป้องกันภาวะโลหิตจาง ๔. เพื่อลดการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. อบรมแกนนำหมู่บ้านเพื่อให้มีความรู้ในการแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ทันทีที่ตั้งครรภ์ ๒. อบรมหญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติให้มีความรู้ในการป้องกันภาวะโลหิตจางและสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ต่ำกว่า ๑๒  สัปดาห์และได้รับการดูแลครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพรวมทั้งไม่เกิดภาวะโลหิตจาง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2565 11:52 น.