กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมให้ความรู้ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการ หมู่ที่ 3,5,6 และ7 ตำบลช้างเผือก ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2475-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ไอร์ซือเร๊ะ
วันที่อนุมัติ 21 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2566
งบประมาณ 21,275.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสารอวี เปาะอาเดะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.997,101.573place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงการจัดหาและ รับประทานอาหาร จากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุงประกอบอาหารเองที่บ้าน หรือครัวเรือน ใน ปัจจุบันมีการจัดตั้งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชน ให้สะดวกต่อการ เลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือนหรือการจัดเลี้ยงอาหารในหลายรูปแบบ ดังนั้นการควบคุมดูแลให้สถาน ประกอบกิจการ ประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสม เน้นความสะาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงาน สำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญ และให้ความร่วมมือใน การปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข   งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้ มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐาน จะทำให้ ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้า ประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของใน     หมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสาร สเตียร์รอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพ ผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคล ย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้ประกอบการ ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือก สินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและ เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอาหาร ร้านขาย ของชำในหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอซือเร้ะ จึงจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้อบรมให้ความรู้ ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการ ประจำปี ๒๕๖๖ เพื่อให้สองคล้องกับยุทธศาสตร์ จังหวัด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดด้าน สุขาภิบาลอาหารและสุขบัญญัติข้อควรปฏิบัติในการจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

 

2 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารตระหนักถึงผลกระทบอันตรายจากสารปนเปื้อนในอาหารและ ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการบริการที่ดีแก่ผู้บริโภคผู้ประกอบการร้านค้า/แผงลอยและผู้สัมผัส

 

3 3. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ ตัวแทนผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความ ปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง

 

4 4. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำสามารถเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอางที่มีคุณภาพจำหน่าย ให้กับประชาชนในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 64 21,275.00 2 21,275.00
1 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมการอบรมด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัย 64 8,720.00 8,720.00
1 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมตรวจประเมินสถานประกอบการร้านอาหาร/แผงลอย 0 12,555.00 12,555.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการทุกประเภทมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารและ คุ้มครองผู้บริโภคจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
  2. ผู้ประกอบการด้านอาหารตระหนักถึงผลกระทบอันตรายจากสารปนเปื้อนในอาหารและตระหนักถึง ความสำคัญของหลักการบริการที่ดีแก่ผู้บริโภคผู้ประกอบการร้านค้า/แผงลอยและผู้สัมผัส
  3. ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการ สุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับ ผู้บริโภค
  4. ร้านขายของชำในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบตามกฎหมาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2565 13:42 น.