กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจป้องกัน ห่างไกล โรคไข้เลือดออก ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 30 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 47,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสปีเนาะ กะโด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2564 -2565) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2566 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้ม พบจำนวนผู้ป่วยประมาณ  3,000 – 4,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ 10,000 – 16,000 รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนธันวาคม 65 - มีนาคม 66) ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้าง การสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกัน ควบคุม และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกัน /และควบคุม...... และควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
พื้นที่ตำบลสะเตงนอก เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ย้อนหลัง 5 ปี (2561 - 2565) ดังนี้ ปี 2561 คิดเป็น 311.47 ต่อประชากรแสนคน ปี 2562 คิดเป็น 26.01 ต่อประชากรแสนคน ปี 2563 คิดเป็น 60.18    ต่อประชากรแสนคน ปี 2564 คิดเป็น 102.15 ต่อประชากรแสนคน และในปี 2565 คิดเป็น 82.06    ต่อประชากรแสนคน จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – กันยายน ของทุกปี ชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา      ได้ตระหนักดีในบทบาทหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนและเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จึงได้จัดทำโครงการร่วมใจป้องกัน ห่างไกล โรคไข้เลือดออก ปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
2 2. เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชน และโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 3. เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชน เห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 47,300.00 3 47,300.00
1 - 2 มี.ค. 66 1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่แกนนำนักเรียน 0 14,500.00 14,500.00
3 มี.ค. 66 2. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่แกนนำชุมชน 0 14,500.00 14,500.00
13 - 17 มี.ค. 66 3. จัดกิจกรรมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดย อสม. 0 18,300.00 18,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทุกกลุ่มอายุลดลง ไม่เกิน 80 ต่อประชากรแสนคน
  2. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี ร้อยละ 25
  3. ประชาชนและหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของภัยโรคไข้เลือดออก
  4. ชุมชนและโรงเรียนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2565 15:11 น.