กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุง ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2566
งบประมาณ 72,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นางจำเริญ ศรประดิษฐ์ 2.นางชุติมา ทองทวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ตำบลทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (72,500.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5465 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ต่อแสนประชากร
350.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันควบคุมมาโดยตลอด ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา ข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 333 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 23.65 ต่อประชากรแสนคน กลุ่มที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนตุลาคม เท่ากับ 80 ราย รายงานเดือน มกราคม 8 ราย กุมภาพันธ์ 10 ราย มีนาคม 3 ราย เมษายน 11 ราย พฤษภาคม 24 ราย มิถุนายน 39 ราย กรกฎาคม 39 ราย สิงหาคม 61 ราย และกันยายน 58 ราย จากสถานการณ์การแพร่ระบาด จะเห็นได้จากอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและลักษณะนิสัยของยุงลายชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากบ้าน วัดโรงเรียนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมในชุมชน ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะเหมือนกัน จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชาชนในพื้นที่

อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะในพื้นที่ต่อแสนประชากร

350.00 100.00
2 เพื่อป้องกันการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชากรในชุมชน

ร้อยละของการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชากรในชุมชน

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 72,500.00 0 0.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 33,500.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันลูกน้ำยุงลายและโรคไข้เลือดออก 0 39,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้
  2. ไม่พบการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 11:43 น.