กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านต้นแบบ บ้านบือมัง: สะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ต้านภัยโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2566
งบประมาณ 38,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีณี ยาหะแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยไข้เลือดออกต่อแสนประชากร
85.32

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทย ซึ่งจากสถิติพบว่ามีการแพร่ระบาดทั่วทุกหมู่บ้านในเขตเมืองและเขตชนบท เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประเทศ ดังนั้นการดำเนินมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค จึงควรดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ เน้นในการจัดการแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ บริเวณบ้านเรือนในชุมชน โรงเรียน โรงแรม ศาสนสถาน โรงงาน และสถานที่ราชการ รวมถึงการเตรียมความพร้อมทรัพยากรในการควบคุมโรค มาตรการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยและการสื่อสารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนตื่นตัวในการป้องกันโรค ทั้งในช่วงก่อนเข้าฤดูฝน (เดือนมกราคม – เมษายน) ช่วงระบาด (พฤษภาคม - สิงหาคม) ช่วงหลังการระบาด (กันยายน - ธันวาคม) จากข้อมูลรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (506) กองระบาดวิทยา ตั้งแต่เดือน พบว่า พ.ศ. 2565 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ และบางพื้นที่อาจเกิดน้ำท่วมขัง ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ประชาชนสามารถเดินทาง และทำกิจกรรมในสถานที่สาธารณะได้มากขึ้น สำหรับพื้นที่ตำบลบือมัง จากการข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกของตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา 5 ปี ย้อนหลัง พบจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่สุดในปี 2562 มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 16 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 223.74 ต่อแสนประชากร รองลงมาปี 2561 มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 12 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 166.76 ต่อแสนประชากร, ปี 2560 มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 55.05 ต่อแสนประชากร, ปี 2563 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 14.06 ต่อแสนประชากร, ปี 2564 - 2565 ไม่มีพบผู้ป่วยไข้เลือดออก และปีงบประมาณ 2566 ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 85.32 ต่อแสนประชากร ตามเกณฑ์กำหนดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 127.16 ต่อแสนประชากร (ข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก โปรแกรม R 506 จังหวัดยะลา) และข้อมูลการคาดการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2566 มีแนวโน้มที่จะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้น ด้วยการผ่อนคลายมาตรการของโรคโควิด 19 ให้ประชาชนสามารถเดินทางและทำกิจกรรมในสถานที่สาธารณะได้ตามปกติ จึงมีความเสี่ยงที่อุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออกจะสูงขึ้นในช่วงฤดูฝน และทำให้เกิดการระบาดต่อเนื่องไปตลอดปี 2566
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของในการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงจัดทำโครงการบ้านบือมัง:บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ต้านภัยโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบือมัง

ไม่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบือมัง ในหมู่เดียวกันในช่วงระยะเวลาติดต่อกัน 28 วัน นับจากพบผู้ป่วยรายเเรก

0.00 0.00
2 เพื่อค้นหาบ้านต้นแบบ บ้านบือมัง: สะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ต้านภัยโรคไข้เลือดออก

ตำบลบือมัง มีบ้านต้นแบบ บ้านบือมัง: สะอาด ต้านภัยโรคไข้เลือดออก หมู่ละ 2 หลังคาเรือง

0.00 12.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,160.00 0 0.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงาน 0 2,400.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 9,600.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 0 9,600.00 -
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมคัดเลือกบ้านต้นแบบ บ้านบือมัง: สะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ต้านภัยโรคไข้เลือดออก 0 6,960.00 -
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน 0 9,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีคณะทำงานเฝ้าระวังและควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลบือมัง จำนวน 1 ทีม
  2. คณะทำงานเฝ้าระวังและควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลบือมัง มีความรู้ความเข้าใจการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. มีกิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ใน 3 ร ได้แก่ โรงเรือน (บ้านเรือน) โรงเรียน โรงทาน (มัสยิด) จำนวน 1 ครั้ง
  4. มีตำบลบือมังมีบ้านต้นแบบ บ้านบือมัง: สะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ต้านภัยโรคไข้เลือดออก หมู่ละ 2 หลัง จำนวน 12 หลัง
  5. คณะทำงานเฝ้าระวังและควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลบือมัง สามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้
  6. ไม่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบือมัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 00:00 น.