กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กไทยสายตาดีเพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้
รหัสโครงการ 66-L7252-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 64,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมชาย ชูเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนงลักษณ์ สืบชนะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สายตาผิดปกติ จะมีทั้งสั้น ยาว และเอียง การเล่นคอมพิวเตอร์ในเด็กวัยประถม คืออายุต่ำกว่า 15 ปี เด็กจะใช้สายตามาก จะทำให้สายตาสั้นเร็วกว่าปกติ ซึ่งมีทั้งสั้นเทียมหรือสั้นชั่วคราวและสั้นถาวร โดยอัตราการเกิดปัญหาสายตาสั้นขณะนี้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว จากที่เคยพบร้อยละ 8 ของจำนวนประชากรที่สายตาสั้น เป็นร้อยละ 30 ซึ่งจะทำให้เด็กมีปัญหาในการเรียน เด็กจะมองตัวหนังสือบนกระดานไม่ชัด ทำให้จดข้อมูลและเรียนไม่ทันเพื่อน และเกิดปัญหาเด็กเบื่อหน่ายการเรียน ไม่อยากเรียนต่อไป นอกจากนี้จะทำให้เกิดอาการปวดตา ปวดศีรษะโดยไม่รู้สาเหตุ ซึ่งเกิดเนื่องมาจากการเพ่งสายตา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การที่เด็กจำเป็นต้องสวมแว่น ก็เพราะว่ามีสายตาสั้น ยาว หรือเอียง ที่เกิดได้จากกรรมพันธุ์ ซึ่งภาวะสายตาผิดปกติดังกล่าวนี้ จะไม่หายไป แต่ก็ไม่แย่ลง เพียงเพราะว่าไม่สวมแว่น แว่นตาหรือเลนส์สัมผัสเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ไปตลอดชีวิต เพื่อการมองเห็นภาพที่ชัดเจน สายตาสั้น (เห็นภาพมัวในระยะไกล) มักเริ่มเกิดระหว่างอายุ 8 ถึง 15 ปี แต่ก็อาจเกิดเร็วกว่านั้นก็ได้ สายตายาว มักพบเป็นปกติในเด็กทั่วไป และไม่ทำให้เกิดปัญหา หากสายตายาวนั้นมีปริมาณไม่มาก ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น อาจทำให้การมองเห็นระยะใกล้มีปัญหา หรือเกิดภาวะตาเขเข้าในได้ โดยมักพบราวอายุ 2 ปี แทบทุกรายจะมีสายตาเอียงร่วมด้วย (คือตาเป็นรูปไข่ แทนที่จะเป็นทรงกลม) การสวมแว่นตามักจำเป็นเมื่อมีสายตาเอียงปริมาณมาก เด็กจะมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ตรงที่อาจเกิดปัญหาประการหนึ่งตามมาได้ เรียกว่าตาขี้เกียจ หรือแอมไบลโอเปีย หมายความว่าแม้ว่าจะสั่งแว่นสายตาที่ถูกต้องให้ แต่เด็กก็ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเท่าเด็กปกติ ซึ่งอาจขี้เกียจข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ภาวะตาขี้เกียจจะเกิดขึ้นได้เมื่อสายตาสองข้างมีระดับที่แตกต่างกัน การให้เด็กสวมแว่นสายตา จะช่วยป้องกันมิให้ตาข้างที่มีสายตาผิดปกติมากกว่าเกิดตาขี้เกียจขึ้น การรักษาภาวะตาขี้เกียจจะทำได้ยากขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น และหากอายุเกิน 9 ขวบก็อาจไม่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้เลย เนื่องจากระบบประสาททางการมองเห็นมีการเจริญที่เต็มที่ไปเสียแล้ว เทศบาลเมืองสะเดา ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลป้องกันปัญหาทางสายตาในเด็กและเยาวชน ในช่วงอายุ 7 -18 ปี ซึ่งอยู่ในวัยกำลังศึกษาเล่าเรียนซึ่งมีความสำคัญมาก เทศบาลเมืองสะเดาในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตามพรบ.เทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2562) มาตรา 50(6)(7) และพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ.2542 มาตรา 16(10) (19) กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2569) ที่เน้นการเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัย ประกอบกับหนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ที่ สปสช.5.33/ว.123 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2559 เรื่องแนวทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนแผนงาน โครงการ กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพตาและการป้องกันภาวะความผิดปกติของการมองเห็นในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ จึงได้ดำเนินโครงการเด็กไทยสายตาดีเพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและลดปัญหาอุปสรรคในการใช่ชีวิตประจำวัน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๒. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่มีปัญหาด้านสายตา ได้รับการตรวจวัดและตัดแว่นให้เหมาะสม 2.2 เพื่ออบรมให้เด็กและเยาวชนได้รับความรู้ในการดูแลดวงตาได้อย่างถูกวิธี 2.3 เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคที่มาจากดวงตาในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเรียน ๓. กลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชนทีมีชื่อในเขตเทศบาลเมืองสะเดา จำนวน 100 คน (คิดเป็นร้อยละ 3.56 ของประชากรเด็กระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตเทศบาลเมืองสะเดา)

 

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

แผนการดำเนินตามโครงการ
4.1 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง วางแผนการดำเนินงาน/ขออนุมัติโครงการ 4.2 จัดทำแบบประเมินตนเอง เพื่อคนหากลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น
    - ติดต่อประสานงานโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสะเดา   - ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของเทศบาลเมืองสะเดา
4.3 ดำเนินงานตามโครงการ
- ประเมินตรวจวัดสายตาเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย
- อบรมให้ความรู้เรื่องโรคตา การดูแลรักษาดวงตาและแว่นตา - จัดทำแว่นสายตาให้กับเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาสายตาสั้นหรือเอียง หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ที่ สปสช.5.33/ว.123 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2559 เรื่องแนวทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนแผนงาน โครงการ กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพตาและการป้องกันภาวะความผิดปกติของการมองเห็นในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 เด็กและเยาวชนที่มีปัญหาด้านสายตา ได้รับการตรวจวัดและตัดแว่นให้เหมาะสม
10.2 เด็กและเยาวชนได้รับความรู้ในการดูแลดวงตาได้อย่างถูกวิธี
10.3 สามารถลดปัญหาและอุปสรรคที่มาจากดวงตาในการใช้ชีวิตประจำวัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2565 13:56 น.