กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ"ชีวิตวิถีใหม่ห่างไกลโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันฯ ควบคุมได้"
รหัสโครงการ 66-L7252-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองสะเดา
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 105,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาวดี จารุเศรษฐี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุภาวดี จารุเศรษฐี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน พบว่ามีความซับซ้อนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และแบบแผนการดำเนินชีวิต ส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ และป้องกันไม่ได้ รวมทั้งโรคพื้นฐานที่ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ โรคบางอย่างเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขาดการจัดการความเครียด จากการสำรวจชุมชนพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ มีปัญหาการออกกำลังกาย และขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพของประชาชน   จากผลการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขของเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา พบว่าโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญลำดับต้นที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากการสำรวจข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลปี 2564 พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 226 คน จากจำนวนประชากร 21,653 คน คิดเป็นร้อยละ 1.04 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 370 คน จากจำนวนประชากร 21,653 คน คิดเป็นร้อยละ 1.71 สาเหตุสำคัญคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องและการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.ยังขาดความต่อเนื่องในการให้การบริการในเชิงรุกลงไปถึงระดับครอบครัว และชุมชน ทำให้การแก้ปัญหาได้แค่ระดับหนึ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคิดค้นแนวทางการแก้ปัญหา และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ อีกทั้งในช่วงปีที่ผ่านมาการดำเนินงานNCD เป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.มีภาระกิจเพิ่มขึ้นในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(โควิด-19) ด้วย ซึ่งเป็นปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่       จากสภาพปัญหาดังกล่าวงานศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองสะเดา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการ“ชีวิตวิถีใหม่ห่างไกลโรคเรื้อรัง เบาหวานความดันฯควบคุมได้”ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของตนเอง โดยการดำเนินงานกิจกรรมต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อให้มีการเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต มีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยง ต่อการเกิดโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง มีความห่วงใยต่อสุขภาพ ครอบครัว และชุมชน อย่างถาวร ส่งผลให้ทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยและประชาชนมีสุขภาพที่ดี มุ่งให้เกิดการพึ่งตนเองทางสุขภาพเป็นสำคัญ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพ พัฒนาความรู้ความสามารถ และทำความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติงานของอสม.ในพื้นที่ให้มีมากขึ้น เพื่อเป็นการ ยกระดับการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรังในระดับตำบลให้ประสบผลสำเร็จ โดยมี อสม.เป็นแกนนำในชุมชน และให้ความช่วยเหลือในด้านการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ ให้แก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยในช่วงหลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 และยังอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวัง และเตรียมพร้อมรับมือให้ทันต่อสถานการณ์หากมีการระบาดระรอกใหม่ขึ้นมาอีก โดยจัดเป็นการลงพื้นที่ให้บริการถึงบ้าน และเข้าถึงชุมชนทุกพื้นที่ เพื่อลดความแออัด และการรวมกลุ่มกันของประชาชน ป้องกันการระบาดซ้ำของโรคติดเชื้อ โควิด-19 ในเขตทม.สะเดา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้อสม.ได้เพิ่มพูนทักษะ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับโรคเบาหวาน/ความดันฯ และความชำนาญในการใช้อุปกรณ์เจาะ ตรวจน้ำตาลจากปลายนิ้ว ตรวจวัดความดันโลหิต 2. เพื่อให้อสม.ได้ค้นหากลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยรายใหม่ต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงใน ชุมชน ลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 3. เพื่อให้ชุมชนได้รับทราบปัญหาและข้อมูลสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนและนำ ข้อมูลไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 4. เพื่อให้กลุ่มปกติ/กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้มีความรู้ และ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด โดยอสม. 5. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ 6. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีโดยอสม.เป็นพี่เลี้ยง 7. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีโดยอสม.พี่เลี้ยง 3. เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย - เจ้าหน้าที่สาธารณสุข,งานศูนย์บริการและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 196 คน - ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง - ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมได้ดี - ประชาชนกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ - ผู้นำชุมชน ได้แก่ กรรมการและประธานกรรมการชุมชน,ผู้นำศาสนา เช่นพระสงฆ์,โต๊ะอี หม่าม, สมาชิกกลุ่มแม่บ้าน ,สมาชิกชมรมต่างๆ เป็นต้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอน/วิธีดำเนินงาน 1.ประชุมเจ้าหน้าที่งานศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองสะเดาและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ 2. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง, กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน       ความดันโลหิตสูง, กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่แต่ละชุมชน ที่อสม.รับผิดชอบ
3. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา 4. ประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบและตอบรับเข้าร่วมโครงการ 5. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ จัดเตรียมเอกสารและระบุสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อให้อสม.ได้นำไปใช้และลงไปให้บริการถึงบ้าน 6. จัดกิจกรรมดำเนินโครงการตามแผนที่กำหนด อสม.นัดหมายกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายลงพื้นที่ให้บริการถึงบ้านหรือในพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน 7. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.ได้เพิ่มพูนทักษะ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับโรคเบาหวาน/ความดันฯ ความชำนาญในการใช้อุปกรณ์เจาะเลือดจากปลายนิ้วเพื่อตรวจค่าระดับน้ำตาล และการตรวจวัดความดันโลหิต
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะในการดูแล ตนเองในการป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง
  4. กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและ ระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น
  5. ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  6. ภาคีเครือข่ายเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ และมีส่วนร่วมในการ แก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2565 14:07 น.