กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการดำเนินงานแก้ไขปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5282-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง34
วันที่อนุมัติ 16 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางผุสร์สวดี ศิริหิงค์โค
พี่เลี้ยงโครงการ กองสาธารณสุขอำเภอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.903,99.932place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมผ่านเกณฑ์การทดสอบความรู้
0.00
2 ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมสามารถรายงานผลการเฝ้าระวัง และผลการทดสอบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
0.00
3 ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบความสามารถในการทดสอบสิ่งตัวอย่างเบื้องต้
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาระโลกไร้พรมแดนในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศสามารถเข้าถึงผู้บริโภคในทุกระดับได้อย่างง่ายดาย ทั้งชุมชนเมืองและชนบท เมื่อพิจาราณากระบวนการตลาดแล้ว เมื่อมีการผลิตสินค้า ผู้ผลิตย่อมต้องการกำไรสูงสุด ดังนั้นในมาตราการต่างๆ ทางด้านการตลาดทั้งหลายย่อมถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มอุปสงค์ Demand ให้เพิ่มมากขึ้นตามความต้องการขาย supply ของผู้ประกอบการและในบางครั้งก่อให้เกิดอุปสงค์ลวง หรือเทียม ทั้งนี้ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาด ภายใต้เทคนิคการส่งเสริมการขายที่หลากหลาย มีการลด แลก แจก แถม การอวดอ้างสรรพคุณเกินความเป็นจริง รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเพียงด้านเดียว คือด้านดีเท่านั้น ส่วนข้อเสียหรือข้อมูลด้านลบของผลิตภัณฑ์นั้นส่วนใหญ่แล้วจะไม่เปิดเผยต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการเลือกที่จะปกปิดไว้ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ โดยมิได้คำนึงผลเสียที่จะตามมาต่อผู้บริโภค ตลอดจนปราสจากการคำนึงถึงสิทธิ ในการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ในปัจุบันการสื่อสารมวลชนเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการตลาด การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ในกระบวนการต่างๆ จะยิ่งเสริมการบริโภคในสังคมอย่างมาก หรือที่เรียกว่า เกิดรูปแบบที่เรียกว่าการบริโภคนิยมขึ้นในสังคม ทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการที่จะบริโภค เกินกว่าความต้องการที่แท้จริง ตัวอย่างรูปธรรมที่เกิดขึ้น อาทิ การบริโภคยา หรืออาหารอย่างฟุ่มเฟื่อย จนบางครั้งเกิดโรคภัยไข้เจ็บจากผลิตภัณฑ์ที่บริโภคเข้าไป หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ในระยะยาวยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สมดุลด้านต่างๆในโลกเพราะยิ่งมีการบริโภคมากยิ่งขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเข้าสู่กระบวนการ ผลิตมากขึ้นเท่านั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 34 เป็นหน่วยบริการด้านสุขภาพภาครัฐที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุดและประกอบไปด้วยเครือข่าย ภาคประชาชนในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพ หากบุคลากรผู้ปฏิบัติและเครือข่ายสามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข (คบส.) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานของผู้บริโภคไม่ให้ถูกหลอกลวงจากผลิตภัณฑ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านผัง 34 จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้บริบท ที่สำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภค คือ การเข้าถึงบริการ การดูแลต่อเนื่อง การดูแลแบบองค์รวมและผสมผสาน การประสานบริการ และยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และเพิ่มศักยภาพในงานคุ้มครองผู้บริโภค
  1. ผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบความรู้ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ90
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัย และสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยชุดทดสอบขั้นพื้นฐานในชุมชนได้
  1. ผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบความสามารถในการทดสอบสิ่งตัวอย่างเบื้องต้น ร้อยละ90
  2. ผู้เข้ารับการอบรมความสามารถรายงานผลการเฝ้าระวัง และผลการทดสอบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
    (3 เดือนครั้ง)
3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมตรวจสอบ และเฝ้าระวังให้ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยในด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค
  1. มีการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน จำนวน 1 ศูนย์
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,150.00 2 35,150.00
1 มิ.ย. 61 - 31 ก.ค. 62 อบรมเชิงปฏิบัติการ 0 24,550.00 21,150.00
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 ฝึกปฎิบัติงานทดสอบผลิตภัณฑ์ในชุมชน 0 10,600.00 14,000.00
  1. วิเคราะห์สถานการณ์ผลการดำเนินงาน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในบริบทที่ผ่านมา และศึกษาสภาพปัญหาในการดำเนินงาน
  2. วิเคราะห์ปัญหา และจัดทำแผนงานในการดำเนินงานแก้ไขปัญหา
  3. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
  4. ดำเนินงานตามโครงการ
  5. การควบคุม กำกับงานตามโครงการ
  6. การติดตามและประเมินผลตามวัตถุประสงค์
  7. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในงานคุ้มครองผู้บริโภค
  2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเฝ้าระวังเครื่องสำอาง ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในชุมชนด้วยชุดทดสอบขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง และสามารถแจ้งเตือนชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเฝ้าระวังอาหาร ทดสอบความปลอดภัยในชุมชนด้วยชุดทดสอบขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง และสามารถแจ้งเตือนชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2560 14:22 น.