กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคเรื้อรัง ในกลุ่มเสี่ยง ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L4117-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 22,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮาฟีซ สอละซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 มี.ค. 2566 29 ก.ย. 2566 22,920.00
รวมงบประมาณ 22,920.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ จากสถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามแผนภูมิแสดงจำนวนผู้ป่วยย้อนหลัง 5 ปีมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
จากกราฟแสดง ในช่วง 5ปีที่ผ่านมาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอยุ่ระหว่าง 36 - 45ราย ค่ามัธยฐานอยู่ที่ 41.2 และในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาจะพบผู้ป่วยเบาหวานป่วยสูงขึ้นอยุ่ในช่วงปี 64 จำนวน 17 ราย และ ช่วงปี 65 ที่ผ่านมาลดลงเหลือ 3 ราย ในปีนี้ต้องมาเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากในช่วงปีที่ผ่านในกลุ่มเสี่ยงตรวจคัดกรองซ้ำจะมีผู้ป่วยเพิ่มเติมอีกจำนวนกี่รายและลงสอบสวนโรคหาปัจจัยสาเหตุเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป นอกจากนี้ จากการคัดกรองในชุมชน พบว่า กลุ่มเสี่ยงก่อเกิดโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 6.35 , กลุ่มเสี่ยงก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ร้อยละ 3.40 , กลุ่มที่มีรอบเอวเกินเกณฑ์ ร้อยละ 32.56 , กลุ่มที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ
46.57 , กลุ่มที่ดื่มสุราเป็นประจำ ร้อยละ 6.51 นอกจากนี้มีกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง(stroke) จำนวน 5คน อัตราป่วย 1.48 ต่อประชากรพันคน , ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ(CKD) จำนวน 3 คน อัตราป่วย 3.24 ต่อประชากรพันคน , ซึ่งมีผู้ป่วยบางรายเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เกิดความพิการทางกายและการเคลื่อนไหว เป็นภาระให้แก่ครอบครัวและชุมชน ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชน จะช่วยทำให้กลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก 3อ2ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่องตามตัวชี้วัดของสาธารณสุขจังหวัดยะลาประชาชนในพื้นต้องคัดกรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และกลุ่มเสี่ยงสงสัยป่วยได้รับการตรวจยืนยันวินิจฉัย(FPG)ทางห้องปฏิบัติการมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มก/ดล.จึงจะยืนยันเป็นผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเรื้อรั้ง ในกลุ่มเสี่ยง ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ 2566 โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับกลุ่มเสี่ยง เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,920.00 1 22,920.00
2 ม.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมนิทรรศการการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง 0 22,920.00 22,920.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองที่เหมาะสม
  2. ลดอัตราการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2566 11:10 น.