กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยใสห่วงใยสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5225-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 24,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเอื้ออารี แก้วมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 96 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม เด็กและเยาวชน เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของชาติในอนาคต เยาวชนที่มีคุณภาพ นอกจากจะมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และมีสติปัญญาที่ดี แล้วยังต้องมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการดำเนินชีวิตอีกด้วย ประกอบกับในปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และวิธีการเสพใหม่ๆเพิ่มขึ้น และ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์   ปัญหายาเสพติดในเยาวชน และปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลที่ผ่านมาของรายงานจากยูนิเชฟ (UNICEF) เมื่อปี พ.ศ.2552 พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ของไทย มีจำนวนสูงถึง 150,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้เรื่อง เพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เช่นการนับระยะปลอดภัยหน้า7 หลัง7 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับอัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี วันละ 336 ราย เฉลี่ยปีละ 122,640 และพบว่ามีแม่วัยรุ่นอายุน้อยลงเรื่อยๆ
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการให้ความรู้กับเยาวชนในโรงเรียน เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องยาเสพติด เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเอง และเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการใช้ชีวิตตามหลักศาสนา โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหายาเสพติด ปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเรื่องเพศศึกษา อนามัยการเจริญพันธ์และสุขภาพ และพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด การคุมกำเนิด คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ชีวิต
  • เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด การคุมกำเนิด คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ชีวิต  ร้อยละ ๑๐๐
2 ๒.เพื่อให้ผู้ปกครองความรู้ความเข้าใจเรื่อง การดูแลเด็กวัยรุ่น
  • ผู้ปกครองความรู้ความเข้าใจเรื่อง การดูแลเด็กวัยรุ่น ร้อยละ ๑๐๐
3 ๓.เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือปัญหาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และปัญหาพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด สุรา บุหรี่ เกม
  • นักเรียนสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือปัญหาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และปัญหาพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด สุรา บุหรี่ เกม ร้อยละ ๑๐๐
4 ๔. เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนักเห็นคุณค่าในตนเองและสร้สงความภูมิใจในตนเอง

นักเรียนมีความตระหนักเห็นคุณค่าในตนเองและสร้สงความภูมิใจในตนเอง ร้อยละ ๑๐๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66
1 อบรมให้ความรู้เด็กและเยาวชน(1 พ.ค. 2566-31 ก.ค. 2566) 24,120.00      
รวม 24,120.00
1 อบรมให้ความรู้เด็กและเยาวชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 91 24,120.00 0 0.00
31 พ.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้เด็กและเยาวชน 91 24,120.00 -
31 พ.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 จัดตั้งคลินิกวัยรุ่น 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา อนามัยการเจริญพันธ์และสุขภาพ และพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด การคุมกำเนิด คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ชีวิต       2. ผู้ปกครองความรู้ความเข้าใจเรื่อง การดูแลเด็กวัยรุ่น       3. นักเรียนสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือปัญหาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และปัญหาพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด สุรา บุหรี่ เกม       4.นักเรียนมีความตระหนักเห็นคุณค่าในตนเองและสร้างความภูมิใจในตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2566 11:43 น.