กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ปลอดภัยจากสารเคมี
รหัสโครงการ 66-L2487-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 2,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซีตีฆอรีเย๊าะ อูมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ 1 และหมู่ 2
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การประกอบอาชีพเกษตรกรรมถือเป็นกำลังสำคัญที่เป็นรากฐาน ทางเศรษฐกิจของชาติ ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น การดูแลสุขภาพเกษตรกรจึงเป็นงานสำคัญประการหนึ่ง จากการดำเนินงาน ในปี 2565 มีเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไม่ได้เป็นเกษตรกร) ได้รับคัดกรองประเมินความเสี่ยง (แบบ นบก.1)จำนวน 60 คน จากการคัดกรองฯ พบว่าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่ำ จำนวน 58 คน และไม่พบคนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงจนถึงเสี่ยงสูงมากจากการคัดกรองจากแบบสัมภาษณ์ นบก.1 ซึ่งมีแนวโน้มพบความเสี่ยงต่ำ ลงตั้งแต่ ปี 2560-2563 มีการสุ่มตรวจสารโคลีนเอสเตอเรสโดยใช้กระดาษ Reactive paper 1 ครั้ง จำนวน 20 คน มีผลปลดอภัยทุกคน ร้อยละ 100 ไม่พบสารเคมีจากยาฆ่าแมลงตกค้างในเลือด จึงไม่มีการตรวจเปรียบเทียบครั้งที่ 2 และจากการสำรวจกลุ่มเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไม่ได้เป็นเกษตรกร) บางส่วนยังใช้และสัมผัสกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สารกำจัดศัตรูพืชในกระบวนการเตรียมพื้นที่การเกษตรก่อนการเพาะปลูกถึงแม้ว่าจะไม่มีการใช้กับพืชโดยตรงแต่อาจพบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างหลังจากเก็บผลผลิตทางการเกษตรได้ จึงมีความจำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพของเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้มีการจัดบริการเฝ้าระวังสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงเชิงรุกแก่เกษตรกร
  1. กลุ่มเกษตรกรทั่วไป/กลุ่มที่ใช้หรือสัมผัสสารเคมีกำจัดพืช/กลุ่มเกษตรกรได้รับการคัดกรองจากแบบสัมภาษณ์ นบก.1 ทุกคน ร้อยละ 100
  2. กลุ่มเกษตรกรทั่วไป/กลุ่มที่ใช้หรือสัมผัสสารเคมีกำจัดพืช/กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการคัดกรองจากแบบสัมภาษณ์ นบก.1แล้วผลมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงถึงเสี่ยงสูงมากได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองสารโคลีนเอสเตอเรสโดยใช้กระดาษ Reactive paper อย่างน้อย 1 ครั้ง ร้อยละ 100
2 2. เพื่อให้เกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชมีความรู้ และความตระหนักในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  1. ไม่พบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกในพื้นที่ตำบลศาลาใหม่ จากการสุ่มตรวจตามแผงที่วางขายทั้งในและนอกพื้นที่
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ(1 ส.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 1,250.00    
2 2. จัดกิจกรรมการเจาะเลือดตรวจคัดกรอง Cholinesterase(1 ส.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 1,300.00    
รวม 2,550.00
1 กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 1,250.00 1 1,250.00
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 1. กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ ในกลุ่มเกษตรกรทั่วไป/กลุ่มใช้สารเคมีกำจัดพืช/กลุ่มเกษตรกรที่คัดกรองจากแบบสัมภาษณ์ นบก.1 แล้วพบความเสี่ยง ในพื้นที่ หมู่ 1 และ หมู่ 2 ตำบลศาลาใหม่ จำนวน 50 คน 50 1,250.00 1,250.00
2 2. จัดกิจกรรมการเจาะเลือดตรวจคัดกรอง Cholinesterase กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 1,300.00 1 1,300.00
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 2. จัดกิจกรรมการเจาะเลือดตรวจคัดกรอง Cholinesterase โดยใช้กระดาษ Reactive paper ในกลุ่มเกษตรกรทั่วไป/กลุ่มใช้สารเคมีกำจัดพืช/กลุ่มเกษตรกรที่คัดกรองจากแบบสัมภาษณ์ นบก.1 แล้วพบผลความเสี่ยงตั้งแต่เสี่ยงปานกลาง จนถึงผลเสี่ยงสูงมาก ในพื้นที่ หมู่ 1และหมู่ 2 ตำ 50 1,300.00 1,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  2. เกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชหลีกเลี่ยงการใช้หรือลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2566 16:05 น.