กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาสา
รหัสโครงการ 66-L-4137-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาสา
วันที่อนุมัติ 25 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 30,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอสน๊ะ อูมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 ม.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 30,240.00
รวมงบประมาณ 30,240.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตและพัฒนาการในทุกด้าน เป็นช่วงวัยที่พัฒนาการทางด้านต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดและเป็นฐานรากที่สำคัญสำหรับพัฒนาการในช่วงวัยต่อๆ ไป เด็กในวัยนี้จึงเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของประเทศ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย      จะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต ปัจจัยที่ทำให้เด็กปฐมวัยเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ ที่เหมาะสมตามวัย คือ การกระตุ้นพัฒนาการ และการมีโภชนาการที่ดี อาหารที่ดีมีคุณภาพและเพียงพอ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรในสถานศึกษา ตลอดจนคนในชุมชนเองควรให้ความสำคัญ จากการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขทั้งในและต่างประเทศพบว่าเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการล้าช้า เกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ขาดสารอาหาร บางรายอาจอย่างรุนแรงจนทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ น้ำหนักน้อย การรับประทานอาหารที่ดีมีคุณภาพและปริมาณเพียงพอนั้น จะทำให้เด็กมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ ร่างกายแข็งแรง มีความมั่นคงทางอารมณ์ สามารถเข้ากับสังคมได้ ไอคิวสูง มีพลังงานสามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ และสมองปลอดโปร่งพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาสาได้สำรวจข้อมูลเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก            ปีการศึกษา 2565 พบว่าในช่วงจัดการเรียนการสอนปกตินั้นเด็กจะได้รับประทานอาหารเที่ยงที่ศูนย์            พัฒนาเด็กเล็กในปริมาณที่เพียงพอและสารอาหารครบถ้วนอยู่แล้ว แต่ยังพบปัญหาเด็กปฐมวัยบางคนมีภาวะทุพโภชนาการ และบางคนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะทุพโภชนาการ สำรวจทั้งหมด 86 คน พบว่ามีจำนวนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 5 คน และเสี่ยงทุพโภชนาการ จำนวน 19 คน โดยสาเหตุหลักมาจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อาหารที่เด็กนักเรียนรับประทานจากบ้านส่วนใหญ่รับประทานเน้นแต่คาร์โปไฮเดรต ไม่ค่อยรับประทานอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งโปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญมีส่วนช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต เสริมสร้างความแข็งแรง ป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยง่าย เสริมสร้างเซลล์เนื้อเยื่อของอวัยวะ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาสา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยฯ ขึ้น ประกอบกับหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.2/          ว2718 ลงวันที่ 5 กันยายน 2565 แจ้งว่าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)          โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้(กพต.) ได้มีมติในคราวประชุม กพต.        ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 อนุมัติในหลักการโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาวะ และภาวะโภชนาการต่ำของเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564-2568 (รวม 5 ปี) มีพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ ซึ่งจากการประชุมหารือได้มีมติให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเตรียมเสนอโครงการในการขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครู บุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและ การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ภาวะโภชนาการ และการรับประทานอาหารที่ถูกหลัก           โภชนาการ

5.00
2 เพื่อลดปัญหาเด็กปฐมวัยที่เป็นกลุ่มเสี่ยง และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการส่งเสริม โภชนาการ และรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ

ร้อยละ 100 ของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะทุพโภชนาการ และเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลช่วยเหลือ

5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ครู บุคลากรและผู้ปกครอง(4 ม.ค. 2566-31 พ.ค. 2566) 15,540.00          
2 กิจกรรมแจกไข่ให้กับเด็กนักเรียน(4 ม.ค. 2566-31 พ.ค. 2566) 14,700.00          
รวม 30,240.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ครู บุคลากรและผู้ปกครอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 86 15,540.00 1 15,540.00
4 ม.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ครู บุคลากรและผู้ปกครอง 86 15,540.00 15,540.00
2 กิจกรรมแจกไข่ให้กับเด็กนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 21 14,700.00 1 14,700.00
4 ม.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 กิจกรรมแจกไข่ให้กับเด็กนักเรียน 21 14,700.00 14,700.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเจริญเติบโต และมีพัฒนาการเหมาะสมตามสมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2566 10:42 น.