กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมสุขภาพดี ชาวฝาละมียั่งยืน
รหัสโครงการ L3338-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 417,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุชาดา ปาทะรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่เขตรับผิดชอบ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 318 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างสุขภาพ ถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรง ต่อสุขภาพของบุคคลช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียดและโรคมะเร็ง สาเหตุที่พบอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากกระบวนการสร้างสุขภาพ ไม่เพียงแต่เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้การศึกษาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดผลในการปฏิบัติและสถานการณ์ในการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม บรรทัดฐานทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือการดำเนินชีวิต ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ของบุคคลและชุมชนน การแก้ไขด้วยวิธีคิด วิธีการ และองค์ความรู้เดิมจึงไม่เพียงพอ ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา อย่างมีระบบด้วยการสร้างสุขภาพ และด้วยภูมิปัญญาของชุมชนทั้งสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง บริโภคอาหารปลอดภัย สะอาด และส่งเสริมสุขภาพจิตให้ประชาชนในแต่ละชุมชนรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ เพื่อให้ความสำคัญสร้างสุขภาพ เป็นศูนย์กลางและเป็นกลไกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพสู่ประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายและมีโภชนาการที่ดี เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงง่ายๆด้วยต้นทุนต่ำ เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร ทำให้ประชาชนมีสมรรถภาพดี สามารถทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี คือ การให้ความรู้ทางด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิตและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ จะช่วยป้องกันโรคที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณและถูกเวลา ควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้หลากหลายและเพียงพอ ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1408 417,760.00 3 417,760.00
1 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและชี้แจงกิจกรรมเพื่อวางแผนในการขับเคลื่อนโครงการฯ 400 73,200.00 73,200.00
1 มี.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 กิจกรรมรวมพล มหกรรมสุขภาพดี ชาวฝาละมียั่งยืน 608 303,000.00 236,550.00
1 พ.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 400 41,560.00 108,010.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดี
  2. กลุ่มเป้าหมายเกิดทักษะและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเอง และครอบครัว
  3. กลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ปรับทัศคติให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่าง เหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2566 10:02 น.