กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกรณีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและหัวใจและหลอดเลือด
รหัสโครงการ 66-L3321-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 3,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 3,900.00
รวมงบประมาณ 3,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 386 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
3.66
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)
11.37
3 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
42.06
4 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
31.62

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์กลุ่มโรคไม่ติดต่อ ที่เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่ง ในประเทศไทย ทั้งในมิติของการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม ซึ่งโรคไม่ติดต่อหลักที่สำคัญ ได้แก่โรคหัวใจ และหลอดเลือดโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคทางจิตอันเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลัก ได้แก่อาหารที่ไม่เหมาะสม กิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ บุหรี่สุรา และมลพิษทางอากาศซึ่งในปีพ.ศ.2563 ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบต่อ ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่ออย่างมาก เป็นความท้าทายของระบบสุขภาพต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ กองโรคไม่ติดต่อ มีพันธกิจในการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ การศึกษาค้นคว้าวิจัย การสร้างนวัตกรรม การพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และการผลักดันให้เกิดกฎหมาย มาตรการ และ นโยบายสาธารณะด้านการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเพื่อให้ประชาชนได้รับการป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อระดับมาตรฐานสากล ภายในปี2580ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กองโรคไม่ติดต่อได้ขับเคลื่อนทั้งในเชิงนโยบายและการถ่ายทอดการปฏิบัติสู่พื้นที่ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งในและนอก กระทรวงสาธารณสุขและองค์การระหว่างประเทศ โดยใช้ยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ระดับชาติ 5ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) กรอบและทิศทางหลักในการขับเคลื่อน ซึ่งในปีพ.ศ. 2563 - 2565 กำหนดการขับเคลื่อนนโยบายเร่งรัดเพื่อป้องกันควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อสร้างเสริม ให้ประชาชน รู้ตัวเลขของตัวเองที่บ่งบอกสถานะความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ความยาวเส้นรอบเอว น้ำหนัก การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตำบลปันแตทั้งหมด 759 ราย โรคเบาหวาน จำนวน 336 ราย จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ จำนวน 141ราย คิดเป็นร้อยละ 41.41 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้ จำนวน 510 รายคิดเป็นร้อยละ 67.11ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมาย ของกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ระดับน้ำตาลในเลือด น้อยกว่า 130mg%ได้ อย่างน้อย ร้อยละ 50 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติระดับความดันโลหิต น้อยกว่า 140/90 mm.Hgอย่างน้อยร้อยละ ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยและครอบครัวส่วนใหญ่ ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมตามแนวทางการรักษา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย จากภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งไม่ตระหนักถึงภาระค่าใช่จ่ายของครอบครัว ภาครัฐในการดูแลรักษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ได้ตระหนักถึงความสำคัญปัญหานี้จึงได้จัดทำ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรณีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและหัวใจและหลอดเลือด ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม./แกนนำสุขภาพมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง

อสม./แกนนำสุขภาพมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง

0.00
2 เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วย

ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้  ประมวลผลจากฐานข้อมูลHDC On Cloudสสจ.พัทลุง

40.00
3 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรค

ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

10.00
4 ลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

5.00
5 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

42.06
6 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

31.62
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 จัดอบรม(22 ก.พ. 2566-31 ส.ค. 2566) 3,900.00                      
รวม 3,900.00
1 จัดอบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 117 3,900.00 1 3,900.00
1 ต.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรณีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหัวใจหลอดเลือดสมอง 117 3,900.00 3,900.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยสามารถจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง ได้ถูกต้องเหมาะสม ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 19:47 น.