กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 66-L8018-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นางจริยา สุโสะ 2.น.ส.มัสชุพรรณวจี ทวยเดช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2566 31 มี.ค. 2566 19,050.00
รวมงบประมาณ 19,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
      จากข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก รพ.สต.ทุ่งยาว พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ด้วยโรคทางบระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยนอก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในเทศบาลตำบลทุ่งยาวประกอบอาชีพเกษตรกร รับจ้างและค้าขาย ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องใช้ อิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น ยกของหนัก แบกหาม การนั่ง ยืน ผิดจากท่าทางปกติ เป็นต้น ผลของการทำงานส่งผลกระทบต่อสุภาพ ทำให้ระบบโครงสร้างร่างกาย ทั้งระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ผิดปกติ เกิดการเจ็บป่วยขึ้น และกระทบกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอย่างมาก
    การแพทย์แผนไทยเป็นภูมิปัญญาตั้งแต่สมัยโบราณ ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ มักจะรักษาโดยใช้สมุนไพร นอกจากนั้น ยังมีการรักษาด้วยวิธีการ นวด การประคบ การรักษาโรคด้วยวิธีนี้ทำให้โลหิตไหลเวียนสะดวกขึ้นเป็น  การปรับสภาพร่างกายให้เกิดความสมดุล และยังทำให้ร่างกายรู้สึกสบายตัวมากขึ้น ปัจจุบันได้มีการรักษาโรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ในหลายวิธี ซึ่งการรักษาด้วยภูมิปัญญาไทยเป็นอีก หนึ่งทางเลือกในการป้องกันโรคดังกล่าวโดย การทำหัตถการต่างๆ เช่น การตอกเส้น การยืดตัด การเขี่ยเส้น การประคบสมุนไพร ซึ่งหัตถการต่างๆ นี้พบว่าการทำหัตถการดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการช่วยลดอาการปวดเมื่อยใน ผู้ป่วยโรคทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อได้ดี รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลรักษา และป้องกันตนเอง จากโรคทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ได้ในเบื้องต้น ยังสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา ตลอดจนประหยัดเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาลได้ด้วย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว เห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อลดการเจ็บป่วยด้วยอาการทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้ประชาชนในเทศบาลตำบลทุ่งยาวที่มีความสนใจ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ทั้งการใช้สมุนไพร การนวด และสามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพ และป้องกันการเกิดโรค ของตนเอง คนในครอบครัว ชุมชน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียง ในพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งยาวได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรค

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๘๐ มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรค

2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในชุมชนมากยิ่งขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๘๐ มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66
1 กิจกรรมฝึกอบรมโครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย(31 พ.ค. 2566-31 พ.ค. 2566) 19,050.00          
รวม 19,050.00
1 กิจกรรมฝึกอบรมโครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 19,050.00 1 19,050.00
31 พ.ค. 66 กิจกรรมฝึกอบรมโครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย 40 19,050.00 19,050.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรค 1. ๒. ชุมชนมีการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2566 10:13 น.