กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมกลุ่มเสี่ยงและตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงจากภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และส่งเสริมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ด้วยสมุนไพร ปี 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมกลุ่มเสี่ยงและตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงจากภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และส่งเสริมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ด้วยสมุนไพร ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1478-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละมอ
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 14,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินกองทุนหมุนเวียนฯสถานีอนามัยต.ละมอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.597,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชาชนตำบลละมอ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมรูปแบบเดิม จากการเกษตรทำเพื่อการบริโภคมาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิตและรักษาคุณภาพของสินค้า สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ถูกนำมาใช้ในแปลงผักและไร่นาของเกษตรกรอย่างแพร่หลาย ประกอบกับการขาดองค์ความรู้ในการใช้สารเคมีส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในผัก และสะสมในลำห้วย หนอง คลองบึง ฯลฯ การบริโภคผักและใช้แหล่งน้ำที่มีการสะสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ร่างกายที่ได้รับสารพิษมีอาการเฉียบพลัน อาทิ คลื่นใส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง ตาพร่า หายใจติดขัด ฯลฯ ทำให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพตามมาภายหลัง จากการเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลผลการตรวจเลือดประชาชนจังหวัดตรัง ตั้งแต่ปี ๒๕59 ถึง ๒๕๖4 พบว่า มีประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยง อยู่ระหว่างร้อยละ ๑๐.๖๓ – ๒๔.๙๕ และในปี ๒๕62 มีแนวโน้มจะสูงขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ จังหวัดตรังได้ส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยรางจืดเพื่อส่งเสริมสุขภาพและลดภาวะเสี่ยง ซึ่งจากข้อมูลพบว่าวิธีดังกล่าวได้ผลดี โดยทำให้กลุ่มเสี่ยงกลับไปเป็นกลุ่มปกติ ถึงร้อยละ ๙๓.๕ -๙๕.๐ จังหวัดตรังได้กำหนดยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อรองปัญหาสุภาพตามกลุ่มวัย ซึ่งกลุ่มหนึ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพคือกลุ่มวัยแรงงาน เนื่องจากกลุ่มนี้คือกำลังหลักของสังคมที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและดูแลสถาบันครอบครัว และในปี ๒๕๖5 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลละมอ ได้จัดกิจกรรมตรวจเลือดเกษตรกร ได้ทำการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 94 คน พบว่า มีกลุ่มระดับปกติ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 65.96 กลุ่มระดับปลอดภัย 28 คน คิดเป็นร้อยละ 29.79 และกลุ่มระดับมีความเสี่ยง 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4.25 สำหรับกลุ่มระดับมีความเสี่ยง 4 คน ให้รับประทานยาสมุนไพรรางจืด จำนวน 10 วัน และอีก 15 วันถัดจากนั้นเจาะเลือดซ้ำ พบว่าเปลี่ยนเป็นระดับปกติ 3 คน และระดับปลอดภัย 1 คน และทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละมอ ได้นัดกลุ่มเป้าหมายมาให้ความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย และการใช้ยากำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละมอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการอบรมกลุ่มเสี่ยงและตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงจากภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และส่งเสริมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ด้วยสมุนไพร ปี 2566เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร และสร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการเจาะเลือด ตรวจคัดกรอง ค้นหาระดับสารเคมี ฆ่าแมลงตกค้างในร่างกายโดยวิธี Reactive Paper test 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนที่ตรวจพบภาวะเสี่ยงในระดับ มีความเสี่ยงในระดับไม่ปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรไทย 3.ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องสมุนไพรรางจืดมากขึ้น และสามารถใช้บริโภค ลดความเสี่ยงโรคที่เกิดจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้ทราบสถานการณ์ความเสี่ยงสุขภาพประชาชนจากสารเคมีตกค้างในร่างกาย เพื่อกำหนดมาตราการส่งเสริมการลดผลกระทบจากโรคที่สืบเนื่องจากพิษสารเคมีกำจัดแมลงและสารเคมีกำจัดวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ประชาชนเห็นคุณค่าสมุนไพรไทยในการสร้างเสริมสุขภาพและสามารถใช้สมุนไพรรางจืดเพื่อป้องกันพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนมากับอาหารได้อย่างถูกต้อง 3.เกษตรกรมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้องปลอดภัยและประชาชนเกิดพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 09:50 น.