กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายร่วมใจต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 66-L3061-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 22,567.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุบายมะห์ คาเร็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 107 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก เป็นสาเหตุการตายประมาณ 13% ของคนตายทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่า 6 ล้านคน ในปี พ.ศ.2537 มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมากกว่า 18 ล้านคนและมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 9 ล้านคน ในทุกๆ ปี และองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ไว้ว่าในปี 2566 ทั่วโลก จะมีคนตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่า 11 ล้านคน และจะเกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนามากกว่า 7 ล้านคน เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งเป็นโรคที่ใช้ระยะเวลานานหลายปีในการก่อให้เกิดโรค ในอนาคตประชาชนจะมีอายุ ยืนยาวขึ้นมีการควบคุมโรคติดต่อนี้ขึ้น มีการควบคุมให้อัตราตายของทารกแรกคลอดและเด็กลดลง ทำให้โครงสร้างของประชากรเปลี่ยนแปลงไป มีสารก่อมะเร็งมากขึ้นในสิ่งแวดล้อมและมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการรับประทานอาหารที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น จากการดำเนินงานการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม แก่กลุ่มเป้าหมายสตรี อายุ 30-70 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2566 พบว่ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด 518 คน ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม จำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 37.64 กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ตรวจคัดกรอง จำนวน 180 คน คิดเป็นร้อยละ 34.74 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จำนวน 1 คน ปัจจุบันได้เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.2561 เพื่อให้ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเพิ่มมากขึ้น รพ.สต.จึงได้จัดทำโครงการ เครือข่ายร่วมใจต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม

1.สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 80 ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม

60.00 30.00
2 2.เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

2.สตรีอายุ 30-70 ปี ร้อยละ 20 ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

30.00 10.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองแล้วพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ทันที

ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองแล้วพบความผิดปกติ ได้ส่งต่อเพื่อพบแพทย์ทันที

50.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,567.00 1 22,567.00
1 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 1 สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30-70 ปี 0 0.00 -
1 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง โดยวิธีการตรวจ HPV DNA Test ทำให้สามารถตรวจหารยะของโรคก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง 0 0.00 -
1 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 4 สอนวิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเดือนละ 1 ครั้ง ให้กับกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-70 ปี 0 0.00 -
1 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 5 ถ้าพบผิดปกติเจ้าหน้าที่จะนัดมาตรวจซ้ำอีกครั้ง โดยวิธีการตรวจ HPV DNA Test และตรวจโดยเจ้าหน้าที่ยังพบผิดปกติส่งพบแพทย์ทันที 0 0.00 -
27 ก.พ. 66 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเรื่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของเครือข่ายชุมชน อสม.และสตรีอายุ 30-70 ปี 0 22,567.00 22,567.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เครือข่ายชุมชนและกลุ่มเป้าหมายให้ความสำคัญและมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง และเข้ารับการตรวจ คัดกรองมะเร็งเพิ่มขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองแล้วพบความผิดปกติของเซลล์ ได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์อย่างทันที ทำให้ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 10:34 น.