กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังผู้บริโภคด้านสาธารณสุข รพ.สต.บ้านโหนด
รหัสโครงการ 66-L5258-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหนด
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2566
งบประมาณ 13,047.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนพสรณ์ วงษ์ขจรเลิศเมธา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2566 31 พ.ค. 2566 13,047.00
รวมงบประมาณ 13,047.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคที่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพ ประกอบด้วย อาหาร ยา เครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวล้วนมีมาตรการภาครัฐสำหรับควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ก็มีรายงานการตรวจสอบพบสารอันตรายห้ามใช้ หรือสิ่งควบคุมเกินมาตรฐานกำหนดในผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆมาโดยตลอด
การดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยในการบริการ ด้านอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคด้านต่างๆในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้านสื่อความรู้ต่างๆยังมีน้อย และพบว่ามีร้านค้าในชุมชน รถเร่ นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายในชุมชน ปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพในคลื่นวิทยุชุมชน ผู้ที่ขาดความรู้อาจตกเป็นเหยื่อ หรือได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานจากโฆษณาได้ และในส่วนของโรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคมพื้นฐานที่มีหน้าที่พัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีศักยภาพเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมทุกๆด้าน โรงเรียนเป็นที่รวมของเด็กในชุมชนที่มาจากครอบครัวที่ต่างกัน จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ มีโอกาสแพร่เชื้อโรคได้ง่าย จึงต้องเอาใจใส่ดูแล และให้ความรู้ปลูกฝังเจตคติ เสริมสร้างทักษะที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้อง มีสุขนิสัยที่ดีติดตัวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในโรงเรียนจะมีเยาวชน หรือ อย. น้อย ที่คอยดูแลตรวจสอบเฝ้าระวังให้คำแนะนำในเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่เพื่อนนักเรียนและชุมชน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหนด จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และโรงเรียนด้วยพลังของชุมชน เป็นระบบเครือข่าย และคณะทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวัง การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ยาไม่ปลอดภัย การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังอาหาร และการอ่านฉลากโภชนาการแบบ GPA (Guideline Daily Amounts) หรือฉลากหวาน มัน เค็ม จากการบริโภคอาหารสำเร็จรูป ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ที่ประชาชนในตำบลบ้านโหนดควรตระหนัก และปฏิบัติตามเพื่อให้ชุมชน และโรงเรียน ปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความตระหนักในการเลือกซื้อของกันทั้งเด็ก และผู้ใหญ่

ชุมชนมีความตระหนักในการเลือกซื้อของกันทั้งเด็ก และผู้ใหญ่

0.00
2 เพื่อให้มีความรู้ และความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

มีความรู้ และความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

0.00
3 ๓.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เฝ้าระวังยาไม่ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ได้มาตรฐาน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,047.00 0 0.00
1 ก.พ. 66 - 31 พ.ค. 66 จัดอบรมให้ความรู้ 0 11,447.00 -
1 ก.พ. 66 - 31 พ.ค. 66 ทดสอบอาหารปนเปื้อน 0 1,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนมีความตระหนักในการเลือกซื้อของกันทั้งเด็ก และผู้ใหญ่
2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
๓.ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เฝ้าระวังยาไม่ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ได้มาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 00:00 น.