กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรีย
รหัสโครงการ 66-L4120-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงตำบลบ้านแหร
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 60,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวยูโซะ แปเฮาะอีเล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.105,101.204place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.พ. 2566 29 ก.ย. 2566 60,000.00
รวมงบประมาณ 60,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อำเภอธารโตก็เป็นหนึ่งพื้นที่ที่พบปัญหาโรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องจากสถิติอัตราป่วยโรคมาลาเรียตั้งแต่วันที่1มกราคม2564-31ธันวาคม2565 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 413 รายคิดเป็นอัตราป่วย3,910.94 ต่อแสนประชากรไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตและสถิติอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่1มกราคม2563-ธันวาคม2565 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น42รายคิดเป็นอัตราป่วย188.16 ต่อแสนประชากรพบผู้ป่วยเสียชีวิต1รายคิดเป็นอัตราตาย4.48ต่อแสนประชากร โดยพื้นที่พบอัตราป่วยมากที่สุดคือพื้นที่ตำบลบ้านแหรจากสถิติอัตราป่วยย้อนหลัง 3 ปี อัตราป่วยโรคมาลาเรีย พบผู้ป่วยทั้งสิ้น54รายคิดเป็นอัตราป่วย744.21 ต่อแสนประชากรไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต และสถิติอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยทั้งสิ้น1รายคิดเป็นอัตราป่วย13.18 ต่อแสนประชากรไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ตำบลบ้านแหรมีสถิติอัตราป่วยโรคมาลาเรีย พบผู้ป่วยทั้งสิ้น16รายคิดเป็นอัตราป่วย767.31 ต่อแสนประชากรไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต และสถิติอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยทั้งสิ้น1รายคิดเป็นอัตราป่วย46.02 ต่อแสนประชากรไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ประชากรซึ่งมีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี โดยเฉพาะ ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – พฤศจิกายน ของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปีรองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยโรคมาลาเรียและไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย     โรคไข้มาลาเรีย ก็เป็นโรคหนึ่งที่ยุงเป็นพาหะ ได้แก่ยุงก้นปล่อง ซึ่งสถานการณ์ของโรคในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาไก และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร พบว่า มีอัตราป่วย 485 ต่อแสนประชากรในปี 2565 ที่สูง เกินกว่าค่ามาตรฐาน คือ เกินกว่า300 ต่อแสน ทุกปี จึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์และควบคุมโรค ซึ่งการดำเนินการเน้นใน 2 ปัจจัย คือ 1.การกำจัดเชื้อในยุง ด้วยการฆ่ายุงตัวแก่ เช่นการพ่นหมอกควัน การพ่นสารเคมีตกค้าง การใช้สารเคมีต่างๆ 2.การกำจัดเชื้อในคน ด้วยการเจาะค้นหาผู้ป่วยมาลาเรียมาทำการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่กระจายเชื่อ
การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรีย ให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพ นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรค ทั้งยุงลายและยุงก้นปล่อง และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรีย โดยที่ชุมชนต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง รัฐเป็นผู้สนับสนุน ดังนั้น เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ภาคประชาชนโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นแกนนำ และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร ภายใต้การดูแลและควบคุมกำกับของคณะกรรมการให้ปฏิบัติงานในทีมอาสาควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรียตำบลบ้านแหร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรียมีความครอบคลุมและดำเนินการควบคุมได้อย่างทันท่วงที

พื้นที่ตำบลบ้านแหร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรียมีความครอบคลุมและดำเนินการควบคุมได้อย่างทันท่วงที

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น
  2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรีย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2566 13:34 น.