กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะหลงลืมและภาวะซึมเศร้าในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L3013-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่2
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มีนาคม 2566 - 13 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 13 เมษายน 2566
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพนิดา แซะเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 มี.ค. 2566 13 มี.ค. 2566 14,000.00
รวมงบประมาณ 14,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการลงพื้นที่ในการสำรวจข้อมูลชุมชนแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและจากการร่วมสังเกตบริบทของพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านบานาตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี พบว่าในพื้นมีปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายเป็นอย่างมากทั้งนี้มีประชาชนที่มีภาวะหลงลืมและมีความทรงจำที่เลือนลาง ซึ่งภาวะหลงลืมเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญในสังคม เนื่องจากอุบัติการณ์ การเกิดภาวะหลงลืมจะเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและปัญหาที่สำคัญอีกหนึ่งปัญหาคือภาวะซึมเศร้าที่ ซึ่งเกิดจากการวิตกกังวลจากโรคประจำตัว ขาดรายได้และความเครียดสะสมมานาน อาการนอนไม่หลับที่อาจส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าที่ตามมา ซึ่งภาวะซึมเศร้าไม่ใช่แค่เพียงผู้ใหญ่เท่านั้นที่เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า แต่มันสามารถเกิดกับทุกช่วงวัยถ้าหากไม่ได้รับการป้องกันก็จะส่งผลต่อสุขภาพและสามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
ในการจัดโครงการนี้เพื่อส่งเสริมและป้องกันให้ประชาชนในชุมชนสามารถช่วยเหลือและพึ่งพิงตนเองให้ได้มากที่สุดและฝึกจัดการปัญหาหาต่างๆเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าและการหลงลืม โดยวิธีแบบไม่ใช้ยา(Non-pharmacology) อีกทั้ง การแก้ปัญหาทำให้ปัญหาสุขภาพจิตลดลงและลดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนมากที่สุดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหลงลืมและภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหลงลืมและภาวะซึมเศร้า

15.00
2 เพื่อให้คนในชุมชนทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลงลืมและภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของคนในชุมชนทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลงลืมและภาวะซึมเศร้า

15.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 66 ประชุมเพื่อวางแผนและดำเนินการประเมินความทรงจำตามแบบประเมินสมรรถภาพความจำและแบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม (9Q) 0 1,110.00 1,110.00
8 มี.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับภาวะหลงลืมและภาวะซึมเศร้า - ฝึกทักษะบริหารสมองด้วยเกมส์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นกระบวนการคิด ความจำและการสั่งการของสมอง -กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต 0 11,890.00 11,890.00
13 - 14 มี.ค. 66 ประชุมเพื่อประเมินสรุปผลการดำเนินโครงการสรุปผลโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
รวม 0 14,000.00 3 14,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหลงลืมและภาวะซึมเศร้า

2.คนในชุมชนทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันภาวะหลงลืมและภาวะซึมเศร้า

3.มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ทำให้คนในชุมชนได้ทำกิจกรรรมและได้พบปะพูดคุยใกล้ชิดกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2566 14:30 น.