กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ตรงในกลุ่มเสี่ยงตำบลลางา
รหัสโครงการ 66-L3005-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแกนนำสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีอัล-อิสลามลางา
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีนา อาแว
พี่เลี้ยงโครงการ นางนายานา วาแม็ง
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับสามในเพศชาย และเป็นอันดับสี่ในเพศ หญิง โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงประมาณ 3,000 ราย โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นโรคมะเร็งที่สามารถทำการตรวจหาได้ ตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก ซึ่งสามารถทำการรักษาให้หายได้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษามะเร็งในระยะ ลุกลาม นอกจากนี้ยังสามารถตรวจพบในระยะที่ยังไม่เป็นมะเร็งคือ Adenomas ซึ่งเมื่อทำการรักษาโดยการ ตัดทิ้งแล้วจะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนอายุ 50 -70 ปี และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการป่วยสูงได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง เพื่อให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและเพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงในระยะลุกลาม การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเบื้องต้น สามารถตรวจโดยการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจำระ ด้วยวิธีFecal Immunochemical Test (FIT) ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเนื่องจากขั้นตอนในการเตรียม ตัวไม่ยุ่งยากซับซ้อน และสามารถทำการตรวจคัดกรองได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ชมรมแกนนำสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีอัล-อิสลามลางาได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความสำคัญของการป้องกันโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง จึงร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา เสนอโครงการตรวจคัดกรอง มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงให้กับประชาชนที่มีออายุ 50-70 ปีขึ้นไป และผู้มีปัจจัยเสี่ยง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คณะกรรมการชมรมฯ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และประชาชนตำบลลางา มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test และเพื่อให้ประชาชน อายุ50-70 ปี หรือผู้มีปัจจัยเสี่ยงได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และส่งต่อในรายที่พบผลผิดปกติเพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ในระยะลุกลามต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะกรรมการชมรมฯ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test

คณะกรรมการชมรมฯ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลลางา อย่างน้อยร้อยละ 90 มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และมีทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test

90.00 90.00
2 เพื่อค้นหาและป้องกันภาวะเสี่ยงจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในกลุ่มประชากร อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง

ร้อยละ 50 ด้วยการสุ่มอย่างง่าย ของประชาชนอายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง ตำบลลางา ได้รับการตรวจภาวะเสี่ยงจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธี Fit Test

50.00 50.00
3 เพื่อให้ประชาชน อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลการตรวจ Fit Test Positive ได้รับการส่งต่อ

ประชาชน อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลการตรวจ Fit TestPositive ได้รับการส่งต่อทุกราย

70.00 70.00
4 เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม

ประชาชนทีตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่มีผลผิดปกติได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ระยะลุกลาม

90.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้คณะกรรมการชมรมฯ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อค้นหาและป้องกันภาวะเสี่ยงจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในกลุ่มประชากร อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ประชาชน อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลการตรวจ Fit Test Positive ได้รับการส่งต่อ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 - 28 ก.พ. 66 ประชุมทีมงานและเครือข่ายในพื้นที่ 1,500.00 -
1 ก.พ. 66 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 12,070.00 -
1 - 31 มี.ค. 66 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 21,430.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1คณะกรรมการชมรมฯ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) มีความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มีทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test 2. ประชาชน อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ตรงเมื่อตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก 3.ประชาชน อายุ 50-70 ปี และผู้มีปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลการตรวจ Fit Test ผลเป็น บวก (Positive) ได้รับการส่งต่อทุกราย 4.สามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2566 12:06 น.