กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ชุมชนปลอดโฟม อาหารปลอดภัย (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแกนนำสุขภาพ ม.8 บ้านเหนือคลอง
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรรณี บินหีม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง การบริโภคอาหารที่สะอาด สุก ถูกต้องตามหลักโภชนาการ จัดใส่ในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับบุคคลทั่วไป กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย คือช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ในทางกลับกัน การบริโภคอาหารไม่สะอาด มีสารปนเปื้อน อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาหารจะสะอาดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ คือ อาหารหรือวัตถุดิบที่นำมาปรุง ภาชนะบรรจุอาหารปรุงสุก สถานที่ผลิตหรือประกอบการเช่นร้านอาหาร แผงลอย ร้านชำที่จำหน่ายอาหารสด โรงครัวโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น
    จากการสำรวจร้านค้าในชุมชน รวมร้านค้าทั้งหมด 20 ร้าน แยกเป็นร้านขายของชำ 8 ร้าน แผงลอย 3 ร้าน  ร้านขายอาหาร 7 ร้าน โรงครัวโรงเรียนจำนวน 2 แห่ง ชมรมแกนนำสุขภาพ ม.8 บ้านเหนือคลอง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการ รณรงค์ ชุมชนปลอดโฟม อาหารปลอดภัยนี้ขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่วไป กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วย มีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถเลือกบริโภคอาหารและภาชนะที่บรรจุอาหารที่ได้รับรองคุณภาพ 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการแผงลอย และร้านขายของชำที่จำหน่ายอาหารสด มีความรู้เกี่ยวการสุขาภิบาลอาหาร

1.ประชนมีความรู้ และสามารถเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยไม่ใช้โฟมมากขึ้น 2.แผงลอย ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 100 %

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดอบรมให้ความรู้ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ลด ละ เลิก การใช้โฟมในหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 ต.ควนกาหลง ในกลุ่มประชาชนทั่วไป - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท รวมเป็นเงิน 450 บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด  1.5 x 2 เมตร จำนวน7 ผืน ผืนละ 450 บาท รวมเป็นเงิน 3,150 บาท -ค่าถุงผ้าพร้อมเอกสาร จำนวน 125 ชุด ชุดละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 12,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 125 คน คนละ50 บาท รวมเป็นเงิน 6,250 บาท - ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25บาท จำนวน 125 คน รวมเป็นเงิน 6,250 บาท - ค่าวิทยากร 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาทรวมเป็นเงิน 1,200 บาท 2.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหาร ให้กับแผงลอยจำหน่ายอาหาร และร้านชำที่จำหน่ายอาหารสด
-ค่าถุงผ้าพร้อมเอกสาร จำนวน 20 ชุด ชุดละ 120 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน คนละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25บาท จำนวน 20 คน รวมเป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาทรวมเป็นเงิน 1,800 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหารอย่างถูกต้อง ปลอดภัย ลดการใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหาร 2. ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารปลอดภัย สดใหม่และงดใช้โฟม 100 % และร้านชำที่จำหน่ายอาหารสด มีความรู้เกี่ยวการสุขาภิบาลอาหาร และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 16:19 น.