กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก ในชุมชนโงง ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L4160-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านตาโงง หมู่5 ต.เนินงาม
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มีนาคม 2566 - 28 เมษายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอซีด๊ะ ยีมานี
พี่เลี้ยงโครงการ นายอิสมาแอล สิเดะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
80.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติได้กำหนดประเด็นวันเบาหวานโลก รณรงค์มุ่งเน้นให้ประชาชนตระหนักรู้และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคเบาหวาน และผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาที่เร็ว และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ ลดภาวะโรคแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิต สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลกในปี 2564 มีผู้ป่วยจำนวน 537 ล้านคน เสียชีวิตสูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 คน ในทุกๆ 5 วินาที ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในการรักษา เฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี (ข้อมูล:กรมควบคุมโรค) สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดยะลามีแนวโน้มป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี ปี 2565 พบผู้ป่วยรายใหม่ 1,704 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 20,865 ราย เสียชีวิต 638 ราย (3.06 %)โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติในการผลิต หรือตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสมรรถภาพ และทำงานล้มเหลว เป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตาสูญเสียการมองเห็น ไตวายเรื้อรัง หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ชาปลายมือปลายเท้า รวมถึงเป็นแผลหายยาก ดังนั้นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี พบแพทย์สม่ำเสมอ ใช้ยาตามแพทย์สั่ง หากมีอาการผิดปกติให้แจ้งแพทย์ที่รักษา ห้ามปรับยาเอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หมั่นตรวจเท้าด้วยตัวเอง หากเป็นแผลควรรีบไปพบแพทย์ รวมถึง ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ สำหรับการป้องกันโรคเบาหวานควรปฏิบัติ ดังนี้ 1) เลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เน้นผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ ลดอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม 2) ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง 3) ทำจิตใจให้แจ่มใส นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน 4) ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 5) ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ดังนั้น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านตาโงง หมู่5 ต.เนินงาม เล่งเห็นความสำคัญ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

80.00 50.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

80.00 50.00
3 เพื่อติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ80 จำนวน 50คน

80.00 50.00
4 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงไม่ให้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ80

80.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
12 มี.ค. 66 - 12 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงาน 0 250.00 -
13 มี.ค. 66 ให้ความรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา (3 อ. 2 ส) สำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 0 10,950.00 -
14 มี.ค. 66 กิจกรรมจัดหาวัสดุในการดำเนินงาน 0 8,800.00 -
รวม 0 20,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามและฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้องสม่ำเสมอ สามารถกลับสู่ภาวะปกติมากกว่าร้อยละ 20 และกลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 00:00 น.