กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชนเทพา (CBR )
รหัสโครงการ 66-L8287-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 1 โรงพยาบาลเทพา
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 22,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัชนี แก้วมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 พ.ค. 2566 17 พ.ค. 2566 22,975.00
รวมงบประมาณ 22,975.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้พิการ/ผู้ป่วยติดเตียง/ผู้สูงอายุ
148.00
2 จำนวนผู้ป่วยติดบ้าน
30.00
3 จำนวนผู้ป่วยติดเตียง
15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนในชุมชน ผู้ที่สมควรได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็น คือคนพิการตามพรบ.คนพิการ ตามพรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และผู้สูงอายุ หมายความว่า บุคคลซึ่งอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ หมายความว่า บุคคลที่ยังไม่ถูกประเมินเป็นผู้พิการ แต่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสารจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด จากภาวะสุขภาพอนามัย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูหรือช่วยเหลือให้มีสมรรถภาพด้านสุขภาพ เพื่อให้ข้อจำกัดดังกล่าวลดลงหรือหมดไป ตำบลเทพาและตำบลปากบาง (บางส่วน) มีผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ จำนวน 148 คน ติดบ้าน 30 จำนวน และติดเตียง จำนวน 15 คน และเป็นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จำนวน 35 คน ซึ่งจำนวนของผู้สูงอายุ และคนพิการมีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี ด้วยงบประมาณที่มีอยู่จำกัดสำหรับการดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับคนในชุมชนที่มีความจำเป็นทำให้ผู้สูงอายุ และคนพิการจำนวนหนึ่งยังไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีความจำเป็นในสุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งด้านสังคมเท่าที่ควร
    กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 1 โรงพยาบาลเทพา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับคนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชน เทพา ประจำปีงบประมาณ 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการติดเตียง (Care Giver)

ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้พิการติดเตียง (Care Giver) มีศักยภาพเพิ่มขึ้น

1.00
2 เพื่อการดูแลสุขภาพกาย จิตใจของผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยติดเตียง

สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ ของผู้ร่วมโครงการ ร้อยละ 100 ได้รับการดูแล

1.00
3 เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายแก่ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยติดเตียง

ผู้สูงอายุ/คนพิการได้รับความรู้สำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ  และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 ให้ความรู้(16 มี.ค. 2566-17 มี.ค. 2566) 0.00              
รวม 0.00
1 ให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
  1. ประสานบุคลากรทีมสหวิชาชีพ เครือข่ายเยี่ยมบ้าน จัดประชุมหารือการจัดโครงการ   2. เขียนโครงการและแผนกิจกรรมการอบรม เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ   3. ประชาสัมพันธ์เรียนเชิญ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ จิตอาสาในชุมชนและเครือข่ายในตำบลเทพาเข้าร่วมกิจกรรม   4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพิ่มพูนความรู้ และทักษะการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง   5. ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้พิการ ผู้สูงอายุ/ ผู้ป่วยติดเตียง   6. สรุปถอดบทเรียนการปฏิบัติงานในพื้นที่
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ และการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางกายและทางจิต ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีสมรรถภาพที่ดีขึ้น
  2. ผู้ดูแล และผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  3. มีจิตอาสาในชุมชน ที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2566 15:46 น.