กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี วิถีไทย สูงวัยนครตรัง ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 2566-L6896-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 140,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบันโลกมีประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้น เรียกได้ว่าโลกได้กลายเป็น สังคมสูงอายุแล้ว ประชากรในอาเซียนก็กำลังมีอายุสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ประเทศในอาเซียนที่เป็นสังคมสูงอายุ 3 ประเทศ คือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (ร้อยละ 20) ประเทศไทย(ร้อยละ 17) และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม(ร้อยละ 11) ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุแล้ว (Aging Society) ตั้งแต่ปีพ.ศ.2548 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ.10.ของประชากรทั้งประเทศ ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาตินั่นคือ ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2562 มีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ.16.73 ของประชากรทั้งประเทศ และจะก้าวสู่การเป็นสังคมสูงอายุ โดยสมบูรณ์(Complete Aged Society) ในปีพ.ศ..2564 เมื่อสัดส่วนผู้สูงอายุ60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ทั้งนี้ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super.Aged.Society) ในปีพ.ศ. 2574 สัดส่วน ผู้สูงอายุ60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ28จากสถานการณ์ของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบ ทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม การเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพที่เรื้อรังซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย ได้คาดประมาณงบประมาณที่ต้องใช้ในการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง โดยเฉลี่ยแล้วสูงถึงประมาณ 15,000 ล้านบาทต่อปีหรือร้อยละ 0.1 ของ GDP ในช่วงปีพ.ศ. 2558 - 2565 จึงต้องเน้นให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพก่อนวัยสูงอายุและเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด จากรายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 โดยกรมอนามัยร่วมกับโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) พบว่าผู้สูงอายุไทยร้อยละ 95 มีความเจ็บป่วยด้วยโรค หรือปัญหาสุขภาพ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 41 โรคเบาหวานร้อยละ 18 ข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 9 ผู้พิการ ร้อยละ 6 โรคซึมเศร้า ร้อยละ 1 และผู้ป่วยติดเตียง ร้อยละ 1 ขณะที่มีเพียง ร้อยละ.5.ที่ไม่มีโรคหรือปัญหาสุขภาพดังกล่าว นอกเหนือจากปัญหาด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุ ยังเผชิญปัญหาสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และระบบการดูแลที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงความมั่นคงทางด้านรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มาจากพื้นฐานครอบครัวที่ยากจน นอกจากนี้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนาทักษะทั้งในการทำงาน และการดำรงชีวิตในสังคมให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอีกด้วย ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต เนื่องมาจากการเสื่อมสมรรถภาพของร่างกายตามอายุขัยที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีสุขภาพดี มีความสุขทั้งกายและจิตใจทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น ทั้งนี้บุคคลในครอบครัวมีบทบาทสำคัญมากในการดูแลผู้สูงอายุต้องเข้าใจปัญหา เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุอย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการสุขภาพดี วิถีไทย สูงวัยนครตรัง เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพ มีความตื่นตัวในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้รับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและมีความพร้อมต่อการเข้าสู่สังคมสูงวัย
  1. ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเตรียมความพร้อมต่อการเข้าสู่สังคมสูงวัย ร้อยละ≥70
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัย(1 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 140,500.00                    
รวม 140,500.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 140,500.00 1 127,080.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมบรรยาย “เตรียมความพร้อมสู่วันสูงวัย” 0 140,500.00 127,080.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ผู้รับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและมีความพร้อมต่อการเข้าสู่สังคมสูงวัย
  2. กลุ่มผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีความพร้อมต่อการเข้าสู่สังคมสูงวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 14:38 น.