กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุรายใหม่ และฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิง (Care giver)
รหัสโครงการ 2566-L6896-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 414,102.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี 2565.ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หลังจากเมื่อสามปีก่อนนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 นั้นมีมากถึง 12,116,199 คน คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.5% นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่าในปี 2565 ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์”.โดยจะมีสัดส่วนประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมดและคาดว่าในปี 2576 จะเข้าสู่การเป็น“สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” คือมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ดำเนินการคัดกรองเพื่อจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุตามภาวะพึ่งพิงและประเมินความจำเป็นด้านการสนับสนุนบริการ และจัดบริการด้านสุขภาพและสังคม จำแนกเป็นกลุ่มติดสังคมประมาณ 5 ล้านคน และกลุ่มติดบ้านติดเตียง ประมาณ 1.3 ล้านคน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ ข้อมูลสถิติประชากรจากงานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลนครตรัง ณ เดือนตุลาคม 2565 พบว่ามีประชากรในพื้นที่ทั้งหมด 55,520.คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ กลุ่มวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 50.72% อันดับที่สอง กลุ่มวัยผู้สูงอายุ ร้อยละ 20.59% อันดับที่สามกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 11.21% ซึ่งขณะนี้เทศบาลนครตรังได้เข้าสู่การเป็น“สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์”เป็นที่เรียบร้อยแล้ว.และคาดการณ์ว่าอีก 10.ปีข้างหน้าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 14.09% ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC)
เทศบาลนครตรังตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับมือและวางแนวทาง เพื่อรองรับที่ประเทศไทยและประชากรในพื้นที่เทศบาลนครตรังได้เข้าสู่.“สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครตรังขึ้น เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่ม ซึ่งนโยบายสำคัญคือ การทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรคและความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และวางระบบการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ศูนย์บริการสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครตรัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ร่วมวางระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน จัดเตรียมระบบการดูแลที่บ้าน โดยมีความร่วมมือจากโรงพยาบาลของภาครัฐ ชุมชนและครอบครัว ซึ่งการเตรียมระบบดูแลที่บ้าน จำเป็นต้องมีการสำรวจค้นหาและประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พร้อมทั้งเตรียมองค์ความรู้ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ซึงในพื้นที่เทศบาลนครตรัง มีผู้ผ่านการอบรม จำนวน 49 คน และยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทุกชุมชน บุคลากรดูแลให้การพยาบาลไม่ทั่วถึง และในปีงบประมาณ 2566 ได้มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโดยให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุและทุกสิทธิ ทำให้ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care.Giver).มีจำนวนไม่เพียงพอในการดำเนินงาน ศูนย์บริการสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครตรัง จึงได้ประชุมคณะทำงานเพื่อหารือในการวางแผนการดำเนินงาน โดยมีมติให้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุรายใหม่ และฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิง (Care giver) ตามหลักสูตรกรมอนามัย 70 ชั่วโมง และการฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ตามหลักสูตรฟื้นฟู 18 ชั่วโมง (กำหนดผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1 คน ดูแลผู้สูงอายุไม่เกิน 10 คน) เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการระบบข้อมูลทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ในการเตรียมความพร้อมการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุรายใหม่ (Care Giver) หลักสูตร 70 ชั่วโมง มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ

ผู้ดูแลผู้สูงอายุรายใหม่ (Care Giver) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 80

2 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการฟื้นฟู (Care Giver) หลักสูตร 18 ชั่วโมง มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ

ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการฟื้นฟู (Care Giver) ที่ได้รับการฟื้นฟู มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 จัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุรายใหม่ Care Giver หลักสูตร 70 ชั่วโมง (จำนวน 15 คน)(1 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 207,312.00                    
รวม 207,312.00
1 จัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุรายใหม่ Care Giver หลักสูตร 70 ชั่วโมง (จำนวน 15 คน) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 18 207,312.00 1 200,112.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุรายใหม่ Care Giver หลักสูตร 70 ชั่วโมง 18 207,312.00 200,112.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 31 206,790.00 2 193,120.00
1 ธ.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 จัดฟื้นฟูผุ้ดูแลผู้สูงอายุ Gare Giver หลักสูตร 18 ชั่วโมง 23 204,840.00 192,700.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว 8 1,950.00 420.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นมีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. บุคลากรในการดูแลระยะยาวมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงแบบ  องค์รวม และสามารถให้การดูแลอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 14:52 น.