กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเสริมสร้างพลังแกนนำ ในการเฝ้าระวังสุขภาพด้านคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างพลังแกนนำ ในการเฝ้าระวังสุขภาพด้านคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L1528-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปูน
วันที่อนุมัติ 20 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทรศิรา ฐิติกรกิจ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.803,99.668place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 69 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ผลการสำรวจร้านค้าปลีกในระดับตำบลภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในปี 2560 จำนวน 4,128 ร้าน (23 จังหวัด) และปี 2561 จำนวน 887 ร้าน (28 จังหวัด) พบว่าร้านค้าปลีกจำนวนมากขาย "ยาอันตราย" เช่น      ยาปฏิชีวนะ รวมทั้งสเตียรอยด์ที่เป็น "ยาควบคุมพิเศษ" ทั้งที่ตามกฎหมายยาแล้ว "ยาอันตราย" และ "ยาควบคุมพิเศษ" ต้องจำหน่ายในร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำเท่านั้น ส่วนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลเขาปูนจากการสำรวจร้านในเขตรับผิดชอบจำนวน 19 ร้านพบว่ายังมีร้านขายของชำจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคเช่นจำหน่ายอาหารและขนมที่หมดอายุ ไม่มีอย. ไม่มีวันเดือนปีที่ผลิตและบางร้านมีการจำหน่ายยาที่ห้ามขายในชุมชนซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วนเช่นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นหากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้านเป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้ามากที่สุดเนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้านสะดวกในการซื้อสินค้าและเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่นยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์
      จากการสำรวจดังกล่าว ทำให้เห็นว่ายังขาดแกนนำที่มีความรู้ในด้านคุ้มครองผู้บริโภคที่สามารถเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนในหมู่บ้านในการเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ อีกทั้งกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่มีปัญหาในเรื่องของสุขภาพมากที่สุดที่อาจจะหลงเชื่อโฆษณาหรือไปซื้อยามาทานเองโดยอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพได้
      ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค การตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำ ผู้ประกอบการร้านขายของชำ รวมไปถึงกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังในหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปูนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำด้านคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพและสามารถนำความรู้ไปแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้ถูกต้อง

แกนนำด้านคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพสามารถนำความรู้ไปแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้ ร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อให้ร้านขายของชำในหมู่บ้านผ่านเกณฑ์ตามแบบประเมินร้านชำประจำปี

ร้านขายของชำในหมู่บ้านผ่านเกณฑ์ตามแบบประเมินร้านชำประจำปี ร้อยละ 90

90.00
3 เพื่อเฝ้าระวังการใช้ ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง

การใช้ ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังถูกต้อง ร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 1.อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ 2.สำรวจร้านค้าในชุมชนทั้ง 7 หมู่บ้าน 3.ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังเพื่อแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง(1 มี.ค. 2566-25 ก.ย. 2566) 5,100.00                  
รวม 5,100.00
1 1.อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ 2.สำรวจร้านค้าในชุมชนทั้ง 7 หมู่บ้าน 3.ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังเพื่อแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 104 5,100.00 3 5,100.00
1 ม.ค. 66 - 31 มี.ค. 66 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพและสามารถนำความรู้ไปแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้ถูกต้อง 50 4,350.00 4,350.00
1 มี.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 กิจกรรมสำรวจร้านค้าในชุมชนทั้ง 7 หมู่บ้าน พร้อมให้คำแนะนำด้านคุ้มครองผู้บริโภค 19 190.00 190.00
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังเพื่อแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้หลงเชื่อโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณยาเกินจริง 35 560.00 560.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำด้านคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพและสามารถนำความรู้ไปแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้ถูกต้อง
  2. ร้านขายของชำไม่มีการขายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
  3. ประชาชนในหมู่บ้านมีการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้า ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพที่ปลอดภัย
  4. กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังไม่หลงเชื่อโฆษณาเกินจริงและซื้อยามาทานเองโดยเฉพาะยาชุด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2566 14:23 น.