กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันไข้เลือดออก ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5252-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักแต้ว
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 102,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กัญชลิกา ขุนศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี
และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-14 ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคระบาดของโรคไข้เลือดออก องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักแต้ว จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการกำจัดยุงลาย/ยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันไข้เลือดออก ประจำปี 2566 ขึ้น โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และพ่นหมอกควัน ตามหมู่บ้าน ชุมชน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ เพื่อทำลายยุงลาย กำจัดยุงตัวแก่ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักแต้ว จำนวน 10 หมู่บ้าน เพื่อให้เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชน ในตำบลสำนักแต้วมีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในทุกกลุ่มอายุ

ร้อยละ 90 ของคนในทุกกลุ่มอายุ มีการลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

0.00
2 เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกในตำบลสำนักแต้ว

ร้อยละ 80 ของลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกในตำบลสำนักแต้วลดน้อยลง

0.00
3 เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก แก่ประชาชนในตำบลสำนักแต้ว

ร้อยละ 60 ของความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก แก่ประชาชนในตำบลสำนักแต้วลดน้อยลง

0.00
4 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้แก่ประชาชน ตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 90 ของประชาชนมีการตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 102,200.00 0 0.00
1 - 3 มี.ค. 66 1. การเตรียมการ 0 0.00 -
8 มี.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 รพ.สต. กำหนดจุดฉีดพ่นหมอกควันแก่เจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักแต้ว 0 0.00 -
20 - 31 มี.ค. 66 ขั้นดำเนินงาน 0 1,200.00 -
20 มี.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 ขั้นดำเนินงาน 0 101,000.00 -
3 เม.ย. 66 - 29 ก.ย. 66 รายงานและสรุปผลโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสำนักแต้วลดลง
  2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. สามารถเสริมสร้างความร่วมมือบูรณาการระหว่างองค์กร ผู้นำชุมชน รพ.สต. อสม. และผู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. ประชาชนในพื้นที่ตำบลสำนักแต้วมีคุณภาพที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2566 00:00 น.