กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ L1526
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชุมพล ตันกุลโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.798,99.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 374 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 2114 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 772 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ –๑๔ ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี     จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 256๕ จากสำนักงานระบาดวิทยาพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทย (Dengue fever : DF,Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 26,286 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 39.72  ต่อแสนประชากร พบรายงานผู้เสียชีวิต 21 ราย (สำนักงานระบาด ข้อมูล ณ วันที่ ๒๘ กันยายน 256๕ )
    ผู้ป่วยไข้เลือดออกในจังหวัดตรัง จำนวน ๑๕๘ ราย อัตราป่วย ๒๔.7๐ ต่อแสนประชากร พบผู้เสียชีวิต จำนวน 0 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.00  (สำนักงานระบาด ข้อมูล ณ วันที่ ๒๘ กันยายน 256๕)
    ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในอำเภอห้วยยอด จำนวน ๗ ราย อัตราป่วย ๗.๔๕  ต่อประชากรแสนคน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ข้อมูล ณ วันที่ วันที่ ๒๘ กันยายน 256๕)     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ มีผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวัง (Active case) แล้ว จำนวน 25 ราย อัตราป่วย 721.29 ต่อแสนประชากร จำนวนผู้ป่วยที่ยืนยันจำนวน 3 ราย อัตราป่วย 36.29 ต่อแสนประชากร ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มจะระบาดมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่มีฝนตกและอากาศร้อนเป็นช่วงๆ ส่งผลให้มีการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยวิธีการต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรง     จากสถานการณ์อุทกภัย ภัยพิบัติในพื้นที่ปัจจุบัน ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งพื้นที่ตำบลเขากอบเป็นพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่เกษตรกรรมด้านการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน อีกทั้งยังมีบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันและบริเวณที่อยู่อาศัย จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospirosis) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันเนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากรในปี 2565 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน3. เพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคฉี่หนู

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2565 ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 2.มีการสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน วัด โรงเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยจากการสุ่ม HI, CI หลังเสร็จสิ้นโครงการน้อยกว่าก่อนเริ่มโครงการ            HI ≤ 10 , CI =0
3.ร้อยละของประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคฉี่หนู > ร้อยละ80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากรในปี 2565 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน3. เพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคฉี่หนู

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ 2566 0.00 15,160.00 -
13 มี.ค. 66 โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ 2566 3260.00 15,160.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ชนิดกิจกรรม 1. ก่อนการระบาด เตรียมรณรงค์/ให้ความรู้ 1.1 กิจกรรมย่อย ร่วมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนพื้นที่เสี่ยง   1.2 กิจกรรมย่อย   - เตรียมวัสดุอุปกรณ์การดำเนินงาน   - รณรงค์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก แก่ประชาชนในพื้นที่   - รณรงค์กำจัดพ่นควบคุมยุงตัวแก่ ในพื้นที่เสี่ยง โรงเรียน วัด และชุมชน   - รณรงค์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ ในการควบคุมโรคฉี่หนู แก่ประชาชนในพื้นที่ - ค่าแผ่นพับสีไข้เลือดออก
จำนวน 500 แผ่นๆละ ๑๐ บาทเป็นเงิน ๕,๐00 บาท -ค่าแผ่นสีพับโรคฉี่หนู จำนวน 500 แผ่นๆละ ๑๐ บาทเป็นเงิน ๕,๐00 บาท - ค่าไวนิลโรคฉี่หนู ขนาด 1.2 ม. x 2.5 ม. จำนวน ๒ แผ่นๆละ 390 บาท เป็นเงิน ๗๘๐ บาท - ค่าไวนิลโรคไข้เลือดออก ขนาด1.2 ม. x 2.5 ม. จำนวน ๒ แผ่นๆละ 390 บาท เป็นเงิน ๗๘๐ บาท 2. ช่วงระบาด ควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ   - ดำเนินการควบคุมโรคในชุมชนเกิดการระบาด - ควบคุมโรคในชุมชน ไม่ให้เกิด Generation 2 - ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และกลุ่มเป้าหมายโรคไข้เลือดออก - ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และกลุ่มเป้าหมายโรคฉี่หนู - รณรงค์กำจัดตัวแก่ ในพื้นที่เสี่ยง โรงเรียน วัด และชุมชน - ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และกลุ่มเป้าหมายโรคฉี่หนู
- ค่าจ้างเหมารถประชาสัมพันธ์โรคติดต่อ จำนวน ๓ วันๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน ๓,๖00 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๕,๑๖0 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยหกสิบบาทถ้วน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2565 ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 2.จากการสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน วัด โรงเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยจากการสุ่ม HI, CI หลังเสร็จสิ้นโครงการน้อยกว่าก่อนเริ่มโครงการHI ≤ 10 , CI =0
3.ร้อยละของประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคฉี่หนู > ร้อยละ80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 10:40 น.