กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมโรติดต่อในพื้นที่ รพสต.บ้านหนองปรือ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ L1526
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาริฉัตร น้อยนาฎ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.798,99.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 362 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 1707 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นอกจากจะเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลแล้ว ยังมีโรคติดต่อที่อุบัติขึ้นมาใหม่          และโรคติดต่ออุบัติซ้ำ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิต การรับประทานอาหาร ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหากับโรคติดต่ออุบัติซ้ำ เช่น โรคไข้เลือดออก ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตายและการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกส่งผล        ต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน/สังคม ตามลำดับ และโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) จากสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเสี่ยง        ต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งในพื้นที่เป็นพื้นที่ลุ่ม และมีน้ำขังเป็นจ้านวนมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน        โรคเลปโตสไปโรซีส ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ แบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน      รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการทำเกษตรกรรม เนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลือง ตาเหลือเนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้สถานการณ์ไข้เลือดออกประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 256๕ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม 256๕ มีรายงานผู้ป่วยจำนวน ๓๓,๓๖๑ ราย อัตราป่วย ๕๐.๔๒ ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน ๒6 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.0๘ สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดตรัง มีลักษณะแนวโน้มการเกิดโรคเป็นแบบระบาด 2 ปี เว้น 1 ปีจากข้อมูลสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 256๕ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม 256๕ มีผู้ป่วยไข้เลือดออกรวม ๑89 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๙.๕๔ ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอห้วยยอด พบผู้ป่วย 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๗.๔๕ ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต พื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านหนองปรือ ต.เขากอบ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง พบผู้ป่วย จำนวน ๓ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๐๔.๖๔ ต่อแสนประชากร       สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - ๓๑ ตุลาคม 2565 ได้รับรายงานผู้ป่วย        ทั้งสิ้น 3,132ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4.73 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 38 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 1.21 ส่วนใหญ่ประกอบ        อาชีพเกษตร สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส เขต๑๒ ได้รับรายงานผู้ป่วย ทั้งสิ้น 674 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 13.48 ต่อแสนประชากร      เสียชีวิต 15 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 2.23 สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส จังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วย ทั้งสิ้น ๑๗๘ ราย      คิดเป็นอัตราป่วย ๒๗.๘๒ ต่อแสนประชากร เสียชีวิต ๔ ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 2.2๕ และสถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส        อำเภอห้วยยอด ได้รับรายงานผู้ป่วย ทั้งสิ้น ๙ ราย อัตราป่วย ๙.๕๗ ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต       ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือ ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการโครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ รพ.สต.บ้านหนองปรือ ปีงบประมาณ 256๖ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ โดยเน้นให้ประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน ภาคีเครือข่ายชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปีงบประมาณ 256๖2. เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ3. เพื่อรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน สถานที่ราชการและชุมชน และลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย๔. เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเลปโตสไปโรซีส ให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ๕. เพื่อลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิตจากโรคเลปโตสไปโรซีส
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ร้อยละ 20
  2. ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้รับการสอบสวนโรค ร้อยละ 100
    • ค่า CI ของโรงเรียนและรพ.สต. เท่ากับ 0     - ค่า CI ของสถานที่ราชการและวัด ไม่เกินร้อยละ 5
          - ร้อยละ 80 พบค่า HI ของหมู่บ้าน ไม่เกินร้อยละ 5 ๔. ผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีสได้รับการสอบสวนโรค ร้อยละ 100
      ๔. อัตราป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสลดลงจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง  5 ปี ร้อยละ ๑๐
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ 2566(13 มี.ค. 2566-13 มี.ค. 2566) 22,960.00                  
รวม 22,960.00
1 โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ 2566 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2069 22,960.00 0 0.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ 2566 2,069 22,960.00 -

๑. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ป้องกันโรค ๑.๑ กิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและใส่ทรายอะเบท สำรวจค่า HI, CI และพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวแก่ โดยดำเนินการ ในโรงเรียน จำนวน ๒ แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง วัด จำนวน 1 แห่ง และหมู่บ้าน ๖ หมู่บ้าน ๑. ค่ารถแห่ประชาสัมพันธ์ จำนวน ๓ วันๆ ละ ๑,๒๐๐ บ. เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บ. ๒. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑๓ ม. (รร. ๒, หมู่บ้าน ๖,  ศพด. ๑, รพ.สต. ๑, วัด ๒) จำนวน ๑๒ผืนๆ ละ ๓๙๐ บ. เป็นเงิน ๔,๖๘๐ บ. ๔. ค่าแผ่นพับสีโรคไข้เลือดออก จำนวน ๕๐๐ ชุดๆละ ๑๐บ. เป็นเงิน ๕,๐๐๐บ. ๑.๒ กิจกรรมรณรงค์โรคเลปโตสไปโรซีส รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ โรคเลปโตสไปโรซีสโดยดำเนินการ ในโรงเรียน จำนวน ๒ แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง วัด จำนวน 1 แห่ง และหมู่บ้าน ๖ หมู่บ้าน
๑. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑
๓ ม. (รร. ๒, หมู่บ้าน ๖,  ศพด. ๑, รพ.สต. ๑, วัด ๒) จำนวน ๑๒ผืนๆ ละ ๓๙๐ บ. เป็นเงิน ๔,๖๘๐ บ. ๒. ค่าแผ่นพับสีโรคเลปโตสไปโรซีส จำนวน ๕๐๐ ชุดๆละ ๑๐บ.เป็นเงิน ๕,๐๐๐บ. ๒. กิจกรรมควบคุมโรค 2.1 กิจกรรมย่อยควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกกรณีเกิดโรคในพื้นที่ด้วยทรายทีมีฟอส โลชั่น กันยุง และสเปร์ย
ไม่มีค่าใช้จ่าย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบลดลงจากปีงบประมาณ 256๕
  2. สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้
  3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ องค์กรชุมชน ครัวเรือน อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชน และประชาชนในหมู่บ้าน ทุกคนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  4. อัตราป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 11:05 น.