กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
2.ส่งเสริมโภชนาการ9 มีนาคม 2566
9
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลกะรุบี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโภชนาการ โดยกระบวนการที่จำเป็นประกอบดังนี้ 1.1การสนับสนุนอาหารเสริมที่อุดมด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูงแก่เด็กที่เข้าร่วมโดรงการ ได้แก่ ไข่ วันละ 1 ฟอง และนม วันละ 2 กล่อง โดยชนิดของนมประเมินเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับรสที่ดื่ม 1.2ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก 0 ถึง 5 ปี โดยติดตามเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารคุณภาพของอาหาร ทุก 1 เดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน เกี่ยวกับการให้อาหารของผู้ปกครองโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผ่านทางไลน์หรือให้ อสม. ช่วยติดตาม การทำอาหารร่วมกับประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก 0- 5 ปี 1.3ประเมินน้ำหนัก ส่วนสูงของเด็กที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุก 1 เดือนเป็น ระยะเวลา 3 เดือน 2.เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินข้อมูลต่างๆดังนี้ 2.1ข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลเด็ก 2.2ข้อมูลทั่วไปของเด็ก 2.3ความรู้ด้านโภชนาการและพฤติกรรมการดูแลเด็กเพื่อส่งเสริมโภชนาการของผู้ดูแลเด็ก 2.4พฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็ก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เด็กวัยก่อนเรียน สูงดีสมส่วนมากกว่า ร้อยละ 50 2.เด็กวัยก่อนเรียนน้ำหนักตามเกณฑ์มากกว่า ร้อยละ 50

1.ให้ความรู้ผู้ปกครอง เรื่องโภชนาการในเด็ก และการนวดกระตุ้นโกรทฮอร์โมน9 มีนาคม 2566
9
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลกะรุบี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.อบรมผู้ปกครองที่มีปัญหาทุพโภชนาการ เรื่องโภชนาการในเด็ก ระยะเวลา 1 วัน โดยหลักสูตรเนื้อหาดังนี้ 1.1ความรู้โภชนศาสตร์ในเด็กเล็ก ได้แก่ ความรู้พื้นฐานด้านอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาร่างกายและสติปัญญาของเด็ก อายุ6 เดือน ถึง 5 ปี 1.2สาธิตการทำอาหารให้ถูกสัดส่วนโดยให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดอาหาร 1.3แจกคู่มือไข่สำหรับเด็ก 1.4เมนูอาหารเพื่อพัฒนาโภชนาการ การจัดอาหารที่เหมาะสมให้กับผู้ปกครองเป็นการเตรียมอาหารอย่างง่ายในการแก้ไขภาวะโภชนาการ 1.5ความรู้การแพทย์แผนไทยเบื้องต้นสำหรับกระตุ้นโภชนาการ ได้แก่ การนวดเพื่อกระตุ้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหาร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการ และการดูแลเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการมากกว่า ร้อยละ90