กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ
รหัสโครงการ 66-L1523-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 13,865.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรีเวียง กิตติเวชวรกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศศิมา โสะสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย คือสังคมที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าในปี ๒๕๖๖ จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีอยู่ราว ๑ ใน ๖ ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือ เมื่อประเทศใดมีประชากร อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๑๐ หรือ ประชากรอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๗ ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบรูณ์ (Aged Society) ประเทศไทยเริ่มเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบรูณ์ในปี ๒๕๖๘ เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง การที่มีสัดส่วนผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจะต้องรับภาระดูแลผู้สูงอายุในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม บางครั้งอาจทำให้ผู้สูงอายุขาดความอบอุ่นหรืออาจถูกทอดทิ้ง รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพจิตใจ รู้สึกเหงา ไม่ภาคภูมิใจเหมือนเป็นภาระของลูกหลาน อาจรู้สึกน้อยใจ ซึมเศร้า
ผู้สูงอายุถือได้ว่าเป็นทรัพยากรของชาติที่มีคุณค่าทุกคนควรให้ความรักเคารพ และดูแลเอาใจใส่เนื่องจากเป็นผู้ที่สร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติมาก่อน สามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และวัฒนธรรมอันดีไปสู่ลูกหลาน  แต่ปัจจุบันผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจากบุตรหลานมากขึ้นทำกิจวัตรและดูแลตัวเองในเรื่องของความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น  ฉะนั้นผู้สูงอายุควรต้องได้รับความรู้ในเรื่อง การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้เป็นต้น เพื่อที่จะสามารถดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองได้ทำให้เกิดปัญหาได้น้อยที่สุดและส่งผลให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ช่วยให้คนรอบข้างหรือครอบครัวทั้งสังคมมีความสุขด้วยและครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุด ถ้าครอบครัวให้ความสำคัญและเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้วครอบครัวและสังคมไทยจะมีความสุข และทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ร่างกายดีตามมาเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและส่งเสริมสถาบันครอบครัวดังกล่าว จึงได้จัดทำ ผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ  เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจและความรู้สึกที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู๋ในสังคมอย่างมีคุณภาพ 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ

๑.  ผู้สูงอายุร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ๒.  ผู้สูงอายุร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการ มีขวัญและกำลังใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ ๑. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ การดูแลสุขภาพตามหลัก ๓ อ. ๒ ส. แก่ อสม./แกนนำ/ผู้สูงอายุ 65 11,915.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ ๒. ติดตามและประเมินผล สุขภาพด้านร่างกาย และจิตใจ ของผู้สูงอายุในชุมชน 65 1,950.00 -
รวม 130 13,865.00 0 0.00
  1. วิธีการดำเนินงาน 3.1 ระยะเตรียมการ
      3.1.๑. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ
      3.1.๒. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      3.1.๓. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบล        นาเมืองเพชร
      3.1.๔. ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางแผนการดำเนินงาน 3.2 ระยะดำเนินการ   3.2.1. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนงานตามแผนงาน/โครงการ
      กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้   - การตรวจสุขภาพและประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้   - อบรมให้ความรู้โดยมีวิทยาจากภายนอกมาให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. และความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง ดูแลสุขภาพที่ร่างกายให้ดีขึ้น มีทัศนคติที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสุขคมได้อย่างมีความสุข
      - กิจกรรมนันทนาการให้กับผู้สูงอายุระหว่างดำเนินการจัดอบรมตามกิจกรรมฯ   กิจกรรมที่ 2 ติดตามและประเมินผล สุขภาพด้านร่างกาย และจิตใจ ของผู้สูงอายุในชุมชน     - การติดตามและประเมิน สุขภาพด้านร่างกาย และจิตใจของผู้สูงอายุในชุมชนหลังเข้าร่วมโครงการโดยทำแบบประเมินจากแบบสอบถาม 3.3 ระยะประเมินผล   3.3.1. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านสุขภาพ
    1. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและแก้ปัญหาสุขภาพตนเองในเบื้องต้น          อยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ
    2. ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมเรียนรู้ตลอดชีวิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2566 09:43 น.