กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมะเร็งรู้ไว รักษาได้ ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5218-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแดน
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 22 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 22 กันยายน 2566
งบประมาณ 11,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุภา ทองด้วง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.912,100.319place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มี.ค. 2566 22 ก.ย. 2566 11,100.00
รวมงบประมาณ 11,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพบว่าอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นเป็นอับดับแรกของโรคที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของประชากรไทย มะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงคือมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่หากตรวจคัดกรองพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ในระยะแรกจะสามารถรักษาหายขาดได้ และมะเร็งอีกชนิดที่เพิ่มอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ คือมะเร็งลำไส้ ที่พบว่าผู้ป่วยยังเข้ารับริการตรวจคัดกรองค่อนข้างช้า เข้ารับการรักษาในระยะลุกลามแล้วมากกว่า ร้อยละ 80 สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่เน้นการตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งในระยะเริ่มแรกให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งดังกล่าวได้ จากข้อมูลการเข้าถึงตรวจคัดกรองมะเร็งของประชาชนตำบลคลองแดนพบว่าความครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปี พ.ศ. 2564-2565 ร้อยละ 25 พบผู้ป่วยรายใหม่ 4 ราย อัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ในกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 50-70ปี พ.ศ. 2564-2565 ร้อยละ 11.72 ซึ่งถือว่าความครอบคลุมในการตรวจคัดกรองอยู่ในระดับต่ำ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแดนซึ่งมีหน้าที่ดูแลด้านสาธารณสุขได้เห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดโครงการมะเร็งรู้ไว รักษาได้เพื่อรณรงค์การตรวจคัดกรองให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ที่มีภาวะเสี่ยงและส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษาอย่างรวดเร็วได้ทันก่อนเข้าสู่ระยะลุกลามต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็ง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงได้

ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีคะแนนความรู้-ทักษะเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

2 เพื่อเพิ่มการเข้าถึง/ความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งคัดกรองมะเร็งปากมดลูก-มะเร็งเต้านม-มะเร็งลำไส้ ตั้งแต่ระยะไม่มีอาการ
  1. สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ 30-60 ปี ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 50-70 ปี ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ 2 ปี/ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
  3. กลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการตรวจคัดกรองพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลรักษา ร้อยละ 100
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจความพร้อม/ความต้องการเข้าร่วมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในกลุ่มเป้าหมาย
  2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. สำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม-ปากมดลูก-ลำไส้
  4. รณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ผู้เข้าร่วมโครงการ
  5. ประสานวิทยากร และเจ้าหน้าที่ในการตรวจคัดกรอง
  6. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งป้องกันได้ในกลุ่มเสี่ยง
  7. จัดบริการการตรวจคัดกรอง มะเร็ง รู้ไว รักษาได้ ที่ รพ.สต.
  8. ประเมินความรู้ ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการตามแบบสอบถามที่ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างขึ้น
  9. ประสานและส่งต่อรายที่ผลตรวจคัดกรองผิดปกติไปรับการรักษาต่อ
  10. สรุปและติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส และสรุปผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีอายุ 30-70 ปี มีความรู้/ทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มากกว่าร้อยละ 80
  2. สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกใน 5 ปี มากกว่าร้อยละ 80
  3. ประชาชนอายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ มากกว่าร้อยละ 10
  4. ค่าคะแนนความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการในระดับดีมากกว่าร้อยละ 80
  5. ทุกรายที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อรักษา 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2566 10:22 น.