กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรักอย่างไร ปลอดภัย ปลอดโรค
รหัสโครงการ 66-L5218-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแดน
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 22 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 22 กันยายน 2566
งบประมาณ 36,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุภา ทองด้วง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.912,100.319place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มี.ค. 2566 22 ก.ย. 2566 36,100.00
รวมงบประมาณ 36,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมมากขึ้น มีการเร่งรีบการดำเนินชีวิต รูปแบบจากครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้รูปแบบพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนไปเช่นกัน ทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร รูปแบบการมใช้ชีวิตในสังคม และการใช้สื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้านมากขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ได้แก่ สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เด็กและเยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ทำให้เด็กขาดทักษะชีวิต ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เยาวชนเข้าถึงและถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าได้ง่ายขึ้น เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต ความรุนแรงต่างๆที่ออกมาทางสื่อ ล้วนทำให้เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ หรือชักจูงได้ง่าย โดยที่ยังขาดวุฒิภาวะ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ ขับรถประมาท ทะเลาะวิวาทยกพวกตีกัน สูบบุหรี่-ดื่มสุรา-ใช้ยาเสพติดอื่นๆ ขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันหรือไม่ได้ตั้งใจ และเกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียนตามมาอีกด้วย ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมไทยปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น ของกรมอนามัยปี 2559-2562 พบว่า อัตราแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์อายุน้อยลงเรื่อย ๆ จากอายุเฉลี่ย 17.3 ปี ในปีพ.ศ. 2559 เป็น อายุเฉลี่ย 17 ปีในปี 2562เนื่องจากแม่วัยรุ่นเหล่านี้ขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น ดังจะเห็นจากข้อมูลการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์/ไม่ตั้งใจในวัยรุ่นเฉลี่ยที่ร้อยละ 78.3 ในปี พ.ศ.2559 และ ร้อยละ 74.9 ในปี พ.ศ.2562 และพบว่าวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ/ไม่คุมกำเนิดร้อยละ 32.5 ในปีพ.ศ. 2559 และร้อยละ 55.2 ในปีพ.ศ. 2562 ทำให้แม่วัยรุ่นไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย ไม่ได้รับยา/อาหารเสริม บุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพ ไม่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ บางรายหาทางออกโดยวิธีการทำแท้ง ผลจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อ รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังพบว่าแม่วัยรุ่นหยุดเรียน/ลาออกจากระบบการศึกษาเนื่องจากอับอาย ในอัตราสูงถึงร้อยละ 78.3 ในปี พ.ศ.25๖๐ และร้อยละ 49.9 ในปี พ.ศ. 256๓ สอดคล้องกับผลการดำเนินงานอนามัยเจริญพันธ์อำเภอระโนด ปี 256๕ พบว่า อัตราการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น 15 - 16 คนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 0.84 ของวัยรุ่นทั้งหมด และร้อยละ 80 แม่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม มีสาเหตุหลักจากการคุมกำเนิดผิดวิธีหรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ร้อยละ 90 ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแดน จึงได้จัดทำโครงการรักอย่างไร ปลอดโรค ปลอดภัย เพื่อให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา ส่งเสริมสุขภาพตามวัย การเสริมสร้างทักษะชีวิต และพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและเยาวชนของอำเภอระโนด ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน/เยาวชนมีความรู้ – เข้าใจเรื่องเพศศึกษา พัฒนาการวัยรุ่น และฝึกทักษะการใช้ชีวิตในวัยรุ่นเพิ่มขึ้น

นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้-เข้าใจเรื่องเพศศึกษาเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80

2 เพื่อสร้างเครือข่าย/แกนนำในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่นในโรงเรียน

 

3 เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการดูแลช่วยเหลือในโรงเรียนที่จัดกิจกรรม
  1. อัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในโรงเรียนที่จัดกิจกรรมลดลง ร้อยละ 10
  2. อัตราการทำแท้งผิดกฎหมายในแม่วัยรุ่น ร้อยละ 0
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. สร้าง/ประชาสัมพันธ์ช่องทางที่วัยรุ่นเข้าไปปรึกษาขอความช่วยเหลือผ่าน TEEN CLUB/1663
  3. เชิญประชุมครูเปิดรับสมัครโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ

- อบรมเครือข่ายแกนนำนักเรียนประถมศึกษา/มัธยมศึกษา - จัดกิจกรรมในสัปดาห์วิชาการเพื่อสร้างกระแส - จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา / สร้างทักษะชีวิตแก่นักเรียนกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการท้องในวัยเรียน - พัฒนาระบบเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการดูแลช่วยเหลือในโรงเรียน 4. สรุป/รายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้-เข้าใจเรื่องเพศศึกษาเพิ่มขึ้นหลังการอบรม
  2. มีเครือข่ายการดูแลช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่นในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
  3. อัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในโรงเรียนที่จัดกิจกรรมลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2566 10:38 น.