กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยกินผัก รักสุขภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าแก่ออก
รหัสโครงการ 2556-L3306-3-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าแก่ออก
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 2,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอานงค์ สะแหละ
พี่เลี้ยงโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าแก่ออก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารและปัญหาเด็กไม่กินผักในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ซึ่งมีเด็กไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าแก่ออก สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กวัยเรียน ผอม เตี้ย อ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การกินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ กินผัก ผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มมากขึ้น และกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายน้อยลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทย โดยเฉพาะอาหารที่ไม่เป็นที่โปรดปรานของเด็ก เห็นจะไม่พ้น ผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นอาหารที่จะให้สารพวกวิตามินทั้งหลาย อันเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการเจริญเติบโต และพัฒนาการต่างๆของเด็ก โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่อยู่ในระยะที่สำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
    แต่ปัจจุบันมีเด็กก่อนวัยเรียน ไม่ค่อยชอบทานผัก หรือถ้าหากได้ทานผัก ผักส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะซื้อมาจากตลาด ทำให้เด็กอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กต้องบริโภคผัก ที่ไม่ปลอดภัยจากสารพิษ
    ในการนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าแก่ออก ได้เล็งเห็นความสำคัญของประโยชน์ของผัก ภาวะโภชนาการและการดูแลสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยกินผัก รักสุขภาพ ขึ้น เพื่อให้เด็กได้ลงมือปลูกผักด้วยตนเอง ได้ทานผักที่ปลอดสารพิษ เพื่อจะได้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กปลูกผักปลอดสารพิษด้วยตนเอง

1.ร้อยละ 100 เด็กได้กินผักปลอดสารพิษ

2 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยอันดีเกี่ยวกับการบริโภคผัก

2.ร้อยละ 100 เด็กมีพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยอันดีกับการบริโภคผัก

3 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กมีสุขอนามัยทีดีและเหมาะสมตามเกณฑ์

3.ร้อยละ 100 เด็กมีสุขอนามัยที่ดีและมีน้ำหนัก ส่วนสูง เหมาะสมตามเกณฑ์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมรั้วกินได้(1 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 2,460.00                  
รวม 2,460.00
1 กิจกรรมรั้วกินได้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 2,460.00 1 2,460.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมรั้วกินได้ 0 2,460.00 2,460.00

๑ ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
๒ จัดทำโครงการและเสนอพิจารณาอนุมัติ
๓ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ/ประสานการดำเนินงาน
  ๔ จัดกิจกรรมที่จะดำเนินการตามโครงการ ดังนี้     - กิจกรรมบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างสุขภาวะที่ดีในโรงเรียน
- กิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมให้เด็กปลูกผักปลอดสารพิษด้วยตนเอง - กิจกรรมรั้วกินได้
  ๕ สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อสร้างบรรยากาศและสร้างสุขภาวะที่ดีในโรงเรียนให้เหมาะกับการเรียนการสอน
  2. เพื่อปลูกฝังแนวคิดการรักษาความสะอาดให้แก่เด็ก
  3. เพื่อส่งเสริมแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มาเป็นหลักการดำเนินชีวิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2566 15:59 น.