กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เทคนิคในการเล่านิทานที่กระตุ้นความฉลาดทางอารมณ์ให้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก และบุคคลที่สนใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์และส่งเสริมทักษะสมอง EF ( Executive Functions)11 สิงหาคม 2566
11
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ยะหา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงตรัสไว้ว่า“ หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมาทำมาคิดมาแต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้าย ๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้” ซึ่งช่วงปฐมวัยจึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการสร้างมนุษย์ให้ก้าวหน้าและมีคุณค่าต่อสังคม เพราะเซลล์ประสาทในสมองของเด็ก จะมีการเจริญเติบโตรวดเร็วมากหรือเป็นช่วง “หน้าต่างแห่งโอกาส” ที่จะพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าให้สามารถควบคุมความรู้สึก การคิดและการกระทำหรือเรียกว่าทักษะสมอง EF( Executive Functions) “ความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิต” เพราะการวางพื้นฐานด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ในช่วงอายุแรกเกิด ถึง 6 ปี เป็นช่วงวัยที่เหมาะสมในการสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กนับตั้งแต่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู และชุมชน ที่จะเข้าร่วมในการเตรียมความพร้อมให้เด็กเติบโตอย่างเต็มศักยภาพและสร้างพฤติกรรมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับเด็ก โดยมีหนังสือนิทานเป็นสื่อสาร สายใยในครอบครัว ซึ่งในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของผลจากการพัฒนาที่เป็นไปอย่างรุนแรง รวดเร็วและซับซ้อน ครูปฐมวัยจึงมีบทบาทและหน้าที่โดยตรงที่จะเป็นผู้วางรากฐานให้เด็กสามารถ “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น อยู่กับคนอื่น และมีความสุขเป็น” โดยผ่านสื่อนิทานและสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน ถือว่าเป็นการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จำเป็นพื้นฐานและเอื้อต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF ( Executive Functions)ของเด็กเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากตัวเด็กจะได้ประโยชน์ตรงแล้ว ครูยังสามารถให้เด็ก พ่อแม่ผู้ปกครอง ยืมหนังสือนิทานไปอ่านที่บ้านหรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ผู้ปกครองมาเล่านิทานให้เด็กฟังในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นอกจากจะพัฒนาความสัมพันธ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กแล้วนั้น
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโด ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าวอย่างยิ่ง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ส่งเสริมพัฒนาทักษะสมอง EF ( Executive Functions) ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กอยู่ในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เด็กเล็กได้ฝึกทักษะสมอง EF ( Executive Functions) โดยการใช้หนังสือนิทานเป็นสื่อ
  2. สร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่บ้าน
  3. ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมเด็กเข้าสู่โลกแห่งศตวรรษที่ 21