กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66-L1467-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อน้ำร้อน
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 170,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะหมูด หล้าหลั่น ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อน้ำร้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.425,99.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 31 ส.ค. 2566 170,000.00
รวมงบประมาณ 170,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากมีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 - 14 ปี รองลงมาคือเด็กก่อนวัยเรียน ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อน้ำร้อนแต่ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 1 ราย คิดเป็น 10.80 ต่อแสนประชากร แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิตในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดอัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ถ้านำอัตราป่วยที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดมาเปรียบเทียบกับอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อน้ำร้อนถือว่าโรคไข้เลือดออกยังไม่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข แต่จากผลงานวิจัย ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรีพบว่า การพยากรณ์การเกิดโรคด้วยวิธีทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงปริมาณ พยากรณ์ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเขตภาคตะวันออก ผลการศึกษาพบว่า จะเป็นปีรอบวัฏจักรที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน ภายใต้ภูมิอากาศที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนักรูปแบบการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นสลับการระบาดสูงต่ำเป็นลักษณะปีเว้นปี ดังนั้นในเขตตำบลบ่อน้ำร้อนในปีที่ผ่านมามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกน้อยมากจนมองแล้วคิดว่าไม่ได้เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข แต่ถ้านำผลการวิจัยมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบเป็นไปได้ว่าปีที่แล้วไม่มีการระบาดของโรคแต่ปีอาจจะมีการระบาดของโรคที่รุนแรงก็เป็นได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อน้ำร้อน ขอดำเนินการโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกประจำปีงบประมาณ 2565 การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแบบบูรณาการ ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรครณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อน้ำร้อนตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้นเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้าน ชุมชน โรงเรียน และสถานบริการสาธารณสุข ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในคนและเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประซาชน ตื่นตัวและตระหนักในการดูแลสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้ถูกหลักสุขาภิบาล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในทุกกลุ่มอายุ 2. เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงพาหนะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน และสถานบริการสาธารณสุข 3.เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในคน โดยเฉพาะเด็กอายุ 5-14 ปี 4.เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ตื่นตัวและตระหนักในการดูแลสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้ถูกหลักสุขาภิบาล

1.อัตราการเกิดโรคลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น 2.ประชาชนในชุมชน ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกด้านการควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อการควบคุมและป้องกันโรค 3.สามารถเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อน้ำร้อน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ติดป้ายประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมืออำนวยความสะดวกในการพ่นหมอกควัน และร่วมมือปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบ้านและครอบครัว 2.ประสานการดำเนินงานระหว่างผู้นำชุมชน อสม.ครู ผู้นำศาสนา เพื่อประชาสัมพันธ์ประชาชนในพื้นที่รับทราบในการดำเนินงาน 3.กำหนดพื้นที่ในการพ่นหมอกควัน ในตำบลบ่อบ่อน้ำร้อน จำนวน 2,311 หลังคาเรือน 4.จ่ายอะเบทให้ครัวเรือน เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนตนเอง 5.ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ (ยกเว้นครัวเรือนที่ไม่ให้ความร่วมมือ)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราการเกิดโรคลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น 2.ประชาชนในชุมชน ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกด้านการควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อการควบคุมและป้องกันโรค 3.สามารถเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อน้ำร้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 16:06 น.