กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อย สุขภาพดี รู้ทันผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตราย
รหัสโครงการ 66-L5273-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มกราคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 48,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา นิยมเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ม.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 48,700.00
รวมงบประมาณ 48,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นอีกหนึ่งภารกิจของหน่วยงานสาธารณสุข โดยมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ให้ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นที่จะต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานสาธารณสุขให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทั่วถึง รพ.สต.ฉลุง จึงเล็งเห็นความสำคัญของนักเรียน และครูอนามัยโรงเรียน เป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่เพื่อนนักเรียน ซึ่งเด็กที่อยู่ในวัยเรียนเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล การให้ความรู้แก่นักเรียนและครูอนามัยโรงเรียน เพื่อสร้างศักยภาพและให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และความรู้เรื่องกัญชาอย่างปลอดภัย และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ไปยังเพื่อนนักเรียน ภายในโรงเรียน เพื่อกระตุ้นการดำเนินการกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียนและเป็นหูเป็นตาให้กับหน่วยงานสาธารณสุข โดยการตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อให้แกนนำนักเรียน อย.น้อยได้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถถ่ายทอดวิธีการเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัยแก่สมาชิกนักเรียน รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังนักเรียนทุกคน

นักเรียน อย.น้อย มีความรู้เรื่องการบริโภคอย่างปลอดภัยและมีความรู้การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย

2 ข้อ 2.เพื่อให้แกนนำนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร และสามารถตรวจเปื้อนในอาหาร โดยใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้นได้

นักเรียน อย.น้อย สามารถตรวจสารปนเปือนในผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้นได้

3 ข้อ 3. เพื่อให้มีการเชื่อมโยงเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย.น้อยในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

นักเรียน อย.น้อย มีส่วนในการช่วยเหลือเพื่อน ๆ ครอบครัวและชุมชนด้วยการให้ความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสม ปลอดภัย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ(30 เม.ย. 2566-31 ส.ค. 2566) 22,500.00              
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(1 พ.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 26,200.00              
รวม 48,700.00
1 กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 22,500.00 1 22,500.00
30 เม.ย. 66 - 29 ก.ย. 66 การฝึกใช้ชุดทดสอบตรวจสารปนเปื้อน 0 22,500.00 22,500.00
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 26,200.00 1 26,200.00
1 พ.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้ 70 26,200.00 26,200.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีการดำเนินงานศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพ single Window ในพื้นที่ตำบลฉลุอย่างต่อเนื่อง 2.นักเรียน อย.น้อยมีความรู้เรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร 3.ประชาชนผู้บริโภคมีภูมิคุ้มกัน รู้เท่ารู้ทัน ไม่เป็นเหยื่อ ถูกหลอกลวง 4.เกิดภาคีเครือข่ายชุมชนในหมู่บ้าน และโรงเรียนสามารถดำเนินการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2566 14:39 น.