กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการห่วงใยมารดาพัฒนาทารก
รหัสโครงการ 2560-L6896-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข 2
วันที่อนุมัติ 25 สิงหาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 150,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมารยาท เสาวภาคย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 290 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานศูนย์บริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ตระหนักถึงความสำคัญของการพยาบาลมารดาและทารก เพราะลูกเป็นสุดยอดความรักความห่วงใย พ่อแม่ทุกคนหวังให้ลูกสุขภาพดีแข็งแรง เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข โดยได้รับการเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัยทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งการดำเนินงานจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะครอบครัวมีส่วนร่วมอย่างมาก หญิงตั้งครรภ์และสามีต้องมีความรู้ ความเข้าใจเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด อสม.และเจ้าหน้าที่ มีบทบาทสำคัญในการเฝ้าติดตามดูแลและกระตุ้นให้ พ่อ แม่ เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง และทารกในครรภ์ให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี รวมทั้งการดูแลหลังคลอด เพื่อป้องกันและลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ต่อตนเอง และทารก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้รับการส่งเสริมให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 60

2 เพื่อให้มารดาและทารกได้รับบริการติดตามเยี่ยมอย่างน้อย 3 ครั้งตามเกณฑ์

มารดาและทารกได้รับบริการติดตามเยี่ยมอย่างน้อย 3 ครั้ง ตามเกณฑ์

3 เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอดรวมทั้งการดูแลทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามสภาพปัญหา

มารดาได้รับความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอดรวมทั้งการดูแลทารกหลังคลอดอย่างถูกต้อง

4 เพื่อให้มารดารู้จักใช้สื่อในการส่งเสริมพัฒนาการลูกให้เป็นไปตามวัย

มารดาสามารถใช้สื่อต่าง ๆ ในการส่งเสริมพัฒนาการลูกให้เป็นไปตามวัย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑.ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และรายละเอียดการดำเนินงาน ๒.รวบรวมข้อมูลมารดาและทารกในปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงาน ๓.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ ขั้นดำเนินการกิจกรรม ๑.จัดหาวัสดุ/อุปกรณ์เพื่อประเมินสุขภาพมารดา,ทารก และภาวการณ์เจริญเติบโตของเด็กทารก ๒.สำรวจจำนวนเด็กเกิดใหม่จากงานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลนครตรังและบัตรอนามัยแม่และเด็ก (V-CARD) จากโรงพยาบาลตรัง สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ๓.รวบรวมคัดแยกข้อมูลมารดาทารกที่คลอดในแต่ละสัปดาห์ส่งต่อให้ผู้รับผิดชอบแต่ละพื้นที่วางแผนดูแลติดตามเยี่ยมมารดา-ทารกหลังคลอด ๔.อบรมให้ความรู้ อสม.ในการแนะนำ และติดตามเยี่ยมมารดา-ทารกหลังคลอด ๕.ซักประวัติตรวจร่างกาย ให้คำแนะนำตามสภาพปัญหา ลงบันทึกตามแบบฟอร์มบันทึกสุขภาพมารดาและทารก (แบบฟอร์ม ๔,๕) พร้อมมอบของเยี่ยมส่งเสริมพัฒนาการและเพื่อส่งเสริมสุขภาพของมารดาจำนวน ๑ ชุด ๖.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.มารดาหลังคลอดที่ได้รับการเยี่ยมมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ การปฏิบัติตัวและการสังเกตอาการผิดปกติหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง ๒.ทารกหลังคลอดที่ได้รับการเยี่ยมเฝ้าติดตามดูแลสุขภาพ มีการแก้ปัญหาตามสภาพปัญหาและมีการส่งต่อด้านการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม ลดอัตราการป่วย/ตาย ๓.มารดามีความรู้ในการเลี้ยงลูกนมแม่อย่างถูกวิธี ๔.มารดามีความรู้เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2559 13:42 น.