กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนแจ่มใส ห่างไกลโรคซึมเศร้า ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L8409-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนจริยธรรมอิสลามมูลนิธิ
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,019.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นางสาววิลาวรรณ เหตุมัน 2.นางลินดา กอเซ็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 219 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วคำว่าโรคซึมเศร้าฟังดูไม่คุ้นหูถ้าพูดถึงเรื่องซึมเศร้าเรามักจะนึกกันว่าเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวัง หรือการสูญเสียมากกว่าที่จะเป็นโรค อันที่จริงแล้ว ที่เราพบกันในชีวิต ประจำวันส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกธรรมดาๆ ที่มีกันในชีวิตประจำวัน มากบ้างน้อยบ้าง อย่างไรก็ตามในบางครั้ง ถ้าอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอยู่นานโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น หรือเป็นรุนแรง มีอาการต่างๆ ติดตามมา เช่น นอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ก็อาจจะเข้าข่ายของโรคซึมเศร้าแล้ว คำว่า “โรค” บ่งว่าเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้อาการทุเลา  ต่างจากภาวะอารมณ์เศร้าตามปกติธรรมดาที่ถ้าเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวคลี่คลายลง หรือมีคนเข้าใจเห็นใจ อารมณ์เศร้านี้ก็อาจหายได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านอกจากมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมกับอาการต่างๆ แล้ว การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันก็แย่ลงด้วย
ปัจจุบันโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งจากข้อมูลปี 2561 องค์การอนามัยโลกระบุว่าปัจจุบัน 1 ใน 20 คนของประชากรโลกกำลังป่วยด้วยโรคดังกล่าว และป่วยซ้ำสูงร้อยละ 50-70 ที่น่าเป็นห่วงคือเป็นต้นเหตุให้วัยรุ่นฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น ส่วนในประเทศไทยพบวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงร้อยละ 44 หรือประมาณ 3 ล้านกว่าคน จากจำนวนวัยรุ่นทั้งหมดประมาณ 8 ล้านคน อัตราป่วยร้อยละ 18 ซึ่งคาดว่าป่วยแล้วกว่า 1 ล้านคน วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยชีวภาพของสมอง ปัจจัยทางจิตสังคมและปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิด การตัดสินใจ และอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของวัยรุ่นในประเทศไทย หลายครั้งวัยรุ่นที่มีโรคซึมเศร้าอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้องเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้า เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ จากสถิติพบว่าโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
โรงเรียนจริยธรรมอิสลามมูลนิธิ เปิดสอนตั้งแต่ในระดับ อนุบาล ถึง มัธยมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียน จำนวน 300 คน เป็นนักเรียนระดับ อนุบาล -ประถม จำนวน 81 และเป็นนักเรียนระดับมัธยม จำนวน 219 คน มีผู้บริหารและครู รวมกัน จำนวน 33 คน ซึ่งปัจจุบันตอนนี้ โรงเรียนจริยธรรมอิสลามมูลนิธิ มีนักเรียนบางส่วนที่พบกับภาวะโรคซึมเศร้า ในอัตราร้อยละ 5 ของนักเรียนทั้งหมด และอีกหลายๆราย ที่ยังไม่รู้ตัวว่ามีความเสี่ยงกับโรคภาวะซึมเศร้า  ซึ่งการเกิดภาวะซึมเศร้านี้ มีมาจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาครอบครัว พ่อแม่หย่าร้าง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาโรคภัยที่รุ่มเร้า ปัญหาค่านิยมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้น ทางโรงเรียนจึงจัดทำโครงการ “เยาวชนแจ่มใส ห่างไกลโรคซึมเศร้า” เพื่อต้องการแก้ปัญหาโรคซึมเศร้าในวัยเรียน และการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคซึมเศร้าของนักเรียนในโรงเรียน ให้มีความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนในโรงเรียน มีการจัดการกับความเครียดได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคซึมเศร้าของนักเรียนในโรงเรียน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนสามารถสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคซึมเศร้าได้
  2. นักเรียนในโรงเรียน มีการจัดการกับความเครียดได้อย่างถูกต้อง
  3. สามารถลดอัตราการเกิดโรคซึมเศร้าของนักเรียนในโรงเรียนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2566 10:14 น.