กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแชมพูสมุนไพรกำจัดเหาจากใบน้อยหน่า
รหัสโครงการ 66-L5182-02-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านหว้าหลัง
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 พฤษภาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 33 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่เป็นเหา
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคเหายังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ในเด็กนักเรียนโดยทั่วไปสำหรับประเทศไทย และยังคงพบนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง ก่อให้เกิดความรำคาญทั้งต่อตนเองและบุคคลใกล้ชิด รวมถึงส่งผลต่อการขาดสมาธิในการเรียนหนังสือ และสูญเสียบุคลิกภาพที่ดี ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการแชมพูสมุนไพรกำจัดเหาจากใบน้อยหน่า ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหว้าหลัง เพื่อให้เพื่อดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียน โดยจากการสำรวจพบว่านักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านหว้าหลังเป็นเหา จึงได้วิเคราะห์สภาพปัญหาและได้คิดหาวิธีการแนวทางแก้ไข ซึ่งใบน้อยหน่ามีสรรพคุณในการฆ่าเหาได้ดี จึงนำมาเป็นส่วนผสมในการทำเป็นแชมพู และเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและบริบทที่เกี่ยวข้องและนำผลการดำเนินงานรายกรณีในแต่ละปีการศึกษามาปรับปรุงและพัฒนาวางแผนให้การช่วยเหลือนักเรียนทุกกรณีในปีการศึกษาถัดไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักเรียนได้รับการคุ้มครองดูแลช่วยเหลือ มีภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตและการปรับตัวในการเข้าไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นเหาสามารถกำจัดเหาให้นักเรียนได้

ร้อยละของนักเรียนที่เป็นเหาได้รับการกำจัดเหาและหายจากการเป็นเหาเพิ่มขึ้น

80.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,740.00 6 9,740.00
29 พ.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน 0 0.00 0.00
9 มิ.ย. 66 การทำแชมพูสมุนไพรกำจัดเหาจากใบน้อยหน่า 0 6,280.00 6,280.00
12 มิ.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการรักษาความสะอาดและสุขวิทยาส่วนบุคคลเพื่อการแก้ไขปัญหาเรื่องเหา สาธิตวิธีการสระผม การรักษาความสะอาดแก่นักเรียนและผู้ปกครอง 0 3,460.00 3,460.00
13 มิ.ย. 66 มอบแชมพูสมุนไพรกำจัดเหาจากใบน้อยหน่าให้ผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นเหา 0 0.00 0.00
21 - 28 มิ.ย. 66 ติดตามเยี่ยมบ้าน ครอบครัวเด็กที่เป็นเหา เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ 0 0.00 0.00
30 มิ.ย. 66 ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนสามารถดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะของตนเองไม่ให้เป็นเหาได้ถูกต้อง
  2. นักเรียนสามารถนำสมุนไพรท้องถิ่นมาใช้ทำแชมพูกำจัดเหาได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2566 10:29 น.