กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยห่างไกลสมองเสื่อม เข่าเสื่อม
รหัสโครงการ 66-L5273-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 36,775.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา นิยมเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 31 ส.ค. 2566 36,775.00
รวมงบประมาณ 36,775.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี 2565 ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หลังจากเมื่อสามปีก่อนนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 นั้นมีมากถึง 12,116,199 คน คิดเป็น 18.3 % ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.5% แบ่งเป็น "ผู้สูงอายุวัยต้น" ช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 6,843,300 คน คิดเป็น 56.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด การเตรียมพร้อมเพื่อการป้องกันการเกิดโรคภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อม ๆ กับอายุที่ยืนยาวขึ้น และโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือ โรคสมองเสื่อม เข่าเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอายุที่มากขึ้น โรคสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติที่สมองทำงานด้อยลงจากเดิมจนมีผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ของบุคคลนั้น ๆ และทำให้ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด ความคิด การตัดสินใจ เปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง นอกจากนี้ปัญหาสำคัญที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อมมี 2 ประการ คือ ปัญหาความจำและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึ่งพบว่าผู้ป่วยจะมีการสูญเสียความจำระยะสั้นก่อนแล้ว จึงสูญเสียความจำระยะยาว ตลอดจนความสามารถในการตัดสินใจทำให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลครอบครัวที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นโรคเรื้อรังที่กิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการสูงอายุ ข้อเข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและเป็นข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากตลอดเวลาที่เดินหรือยืน จึงทำให้ผิวกระดูกอ่อนมีการสึกกร่อนบางลง เกิดการแตก ปริ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงที่ขอบของข้อ เกิดกระดูกงอก และการสะสมของหินปูนหรือแคลเซียมบริเวณผิวกระดูกและช่องว่างระหว่างข้อ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีอาการปวดข้อ ข้อติดแข็งและการเคลื่อนไหวข้อได้น้อยกว่าปกติ ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อชะลอความเสื่อมของสมอง และข้อเข่า ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม และข้อเข่าเสื่อม รวมถึงป้องกันภาวะทุพพลภาพที่อาจจะเกิดตามมาได้ในผู้สูงอายุ ทาง รพ.สต.ฉลุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยของตำบลฉลุง จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยห่างไกลสมองเสื่อม เข่าเสื่อม ปี 2566 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม เข่าเสื่อม และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม เข่าเสื่อม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึัน และสามรถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม เข่าเสื่อมและทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม เข่าเสื่อม

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม เข่าเสื่อมและทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม เข่าเสื่อม

2 ข้อ 2.เพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ อสค./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุ(1 เม.ย. 2566-31 ส.ค. 2566) 26,100.00          
2 กิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(1 เม.ย. 2566-31 ส.ค. 2566) 10,675.00          
รวม 36,775.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ อสค./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 26,100.00 1 26,100.00
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการคัดกรองฯ 50 26,100.00 26,100.00
2 กิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 10,675.00 1 10,675.00
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 50 10,675.00 10,675.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม เข่าเสื่อม 2.ผู้สูงอายุทราบถึวแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม เข่าเสื่อม 3.มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมและได้พบปะพูดคุยใกล้วชิดกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2566 17:26 น.