กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจจัดการขยะอันตราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
รหัสโครงการ 66-L5235-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสุขภาพตำบลคลองรี
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประภาส ขำมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นายศุภชัย เผือกผ่อง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.542,100.388place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาขยะอันตรายขวดยาฆ่าแมลง กระป๋องสเปรย์ หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ น้ำมันเครื่องเก่านับได้ว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญต่อชุมชนอย่างหนึ่ง เนื่องจากก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่าง ๆ ของคนในชุมชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ระบบนิเวศ การปนเปื้อนทางน้ำ การปนเปื้อนในดิน การเกิดมลพิษทางอากาศ รวมถึงผลกระทบต่อพืชและสัตว์ ซึ่งขยะอันตรายจากบ้านหรือในครัวเรือนมักจะถูกมองข้ามไปอย่างละเลยเนื่องจากประชาชนไม่สามารถจัดการทำลายที่ถูกต้องได้ คนส่วนใหญ่จะมองเห็นกันที่ขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรมกันมากกว่าทั้งที่ขยะอันตรายภาคครัวเรือนสามารถสร้างผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างมากเช่นกัน และยังเป็นแหล่งกำเนิดปริมาณของเสียอันตราย ถ้าไม่มีการจัดเก็บและทำลายอย่างถูกวิธี ซึ่งในขยะมูลฝอยของชุมชนจำนวน 1 กอง คิดเป็นสัดส่วนของขยะแต่ละประเภท ดังนี้ ขยะอินทรีย์ 64% ขยะรีไซเคิล 30% ขยะทั่วไป 3% และขยะอันตราย 3 % จากสัดส่วนที่พบถึงแม้ขยะอันตรายจะมีปริมาณน้อยกว่าขยะประเภทอื่น แต่ความเป็นอันตรายที่อยู่ในขยะ สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อมได้รุนแรงกว่าขยะประเภทอื่น ซึ่งจากรายงานของกรมควบคุมมลพิษ ปี พ.ศ.2561 ในระยะเวลาที่ผ่านมานอกจากปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นแล้ว ปริมาณขยะอันตรายก็เพิ่มมากขึ้นด้วย อยู่ที่ประมาณ 0.62 ล้านตันต่อปี จากการศึกษาชุมชนใน ตำบลคลองรี อำเภอ.สทิงพระ จังหวัดสงขลา พบว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่ตระหนักถึงปัญหาการคัดแยกขยะในแต่ละครัวเรือน มีการให้ความสนใจเพื่อจะนำมาเป็นปัญหาที่จะจัดการแก้ไขปัญหาต่อไป โดยขยะทั่วไป ขยะเปียก ระดับครัวเรือนจัดการเองได้ ส่วนขยะอันตรายต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ร่วมจัดการขยะอันตรายโดยเก็บรวบรวมไปพักเก็บไว้ในถังที่ปลอดภัยภายในชุมชน และหน่วยงานภาครัฐนำส่งไปกำจัดในกระบวนการที่ถูกต้องต่อไป ดังนั้นเครือข่ายจัดการขยะฐานศูนย์ตำบลคลองรีจึงได้หาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่พบโดยมีการจัดทำโครงการชุมชนร่วมใจจัดการขยะอันตราย ตำบลคลองรี อำเภอ.สทิงพระ จังหวัดสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินการแก้ปัญหาจัดการขยะอันตรายในพื้นที่ตำบลคลองรี ให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอันตรายภายในชุมชน 2. เพื่อลดอันตรายต่อภัยสุขภาพของคนในชุมชนจากขยะอันตราย

ตัวชี้วัดความสำเร็จ -ประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองรีไม่ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากสารเคมีสะสมจากขยะอันตรายในพื้นที่ -ในชุมชนตำบลคลองรีมีจุดเก็บรวบรวมขยะอันตราย 9 จุดที่ถูกหลักสุขาภิบาล หมู่บ้านละ 1 จุด

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.สำรวจข้อมูลเพื่อค้นหาสภาพปัญหาใน หมู่ที่ 7 ตำบลคลองรี 2.ประชุมผู้เกี่ยวข้องวิเคราะห์ปัญหาและร่วมหาแนวทางการจัดการขยะอันตรายใน ตำบลคลองรี 2.จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาและเสนอโครงการของบประมาณในการดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ตำบลคลองรี 3.การดำเนินงานตามโครงการ     3.1จัดซื้อถังขยะอันตรายถูกหลักสุขาภิบาล ขนาด 240 ลิตร จำนวน 8 ถัง     3.2 จัดซื้อถัง ขนาดความจุ 200 ลิตร จำนวน 8 ถัง     3.3 จัดทำป้ายติดที่ถังขยะ จำนวน 16 ป้าย     3.4 จัดทำที่รองรับถังขยะ จำนวน 8 อัน 4.จัดวางถังขยะอันตรายในพื้นที่ ที่บ้าน อสม.หมู่บ้านละ 1 จุด จำนวน 9 จุด 5.รณรงค์ให้ประชาชนและ อสม.ร่วมกันจัดเก็บขยะอันตรายมาเก็บไว้ตามจุดที่กำหนด ปีละ 2 ครั้ง 6.สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองรีไม่ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากสารเคมีสะสมจากขยะอันตรายในพื้นที่ -ในชุมชนตำบลคลองรีมีจุดเก็บรวบรวมขยะอันตราย 9 จุดที่ถูกหลักสุขาภิบาล หมู่บ้านละ 1 จุด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2566 13:04 น.